ตะลุยกังฟู ตอนที่ 3 ประโยชน์ของไทเก็ก
มวยไทเก็ก หรือไท่จี๋เฉวียน太极拳 Tàijí quán ถึงแม้ว่าจะเห็นภาพลักษณ์ว่าเป็นกีฬาของผู้สูงอายุ เนื่องจากเรามักจะเห็นผู้สูงอายุนิยมร่ายรำกันมากมายตามสวนสาธารณะ แต่ในความเป็นจริงแล้วในนานาประเทศ ไทเก็กได้รับความนิยมในหมู่ผู้สนใจศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบจีน และการฝึกเพื่อสุขภาพ โดยอายุของผู้ฝึกจะมีมากในช่วง 15ปีขึ้นไปจนถึง70ปี
แต่ขึ้นชื่อว่า “มวย” แล้ว
ย่อมต้องหมายถึงการต่อสู้ หลายท่านคงจะแปลกใจว่า เอ๊ะ จริงๆแล้วไทเก็ก
สามารถใช้สู้ได้หรอ ในความเป็นจริงของมวยไทเก็กนั้น เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่ถูกคิดค้นขึ้นจากปรัชญาศาสนาเต๋า道教哲学Dàojiào zhéxué ที่เน้นความสมดุลกันของธรรมชาติ
และการใช้ชีวิตให้ดำรงสอดคล้องกับธรรมชาติ
ดังนั้นไทเก็กจึงมีการต่อสู้ที่เน้นเรื่องสมดุลของตนเอง การทำลายสมดุลของอีกฝ่าย
การสลายแรงโดยไม่ปะทะ จึงเป็นที่มาของหลัก ”สี่ตำลึงปาดพันชั่ง
四两拨千斤sìliǎngbōqiānjīn”
ที่มักได้ยินกันในนิยายหนังกำลังภายในมากมาย
ไทเก็กมีการฝึกที่เน้นการค้นหา
เรียนรู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายภายนอก และการเปลี่ยนแปลงภายใน
เช่นลมหายใจ กระแสลปราณ รวมถึงการรับรู้ และบริหารจัดการแรงที่มากระทบกับร่างกาย
ไม่ว่าจะเป็นการ ผลัก ดึง ฉุด การทำลายสมดุล หรือการโจมตีต่างๆเช่น ชก เตะ เป็นต้น
โดยเริ่มการฝึกจากการเรียนรู้ตัวเองด้วยการ ยืนจวงกง การร่ายรำ และเรียนรู้คู่ต่อสู้ด้วยการฝึกผลักมือ
และการฝึกเข้าท่าต่อสู้ จนไปถึงการต่อสู้อิสระ
ในการนำมวยไทเก็กไปใช้ในการต่อสู้จริงให้ได้ผลจริงนั้น
ต้องขึ้นอยู่ว่าตัวเราเองนั้นมีประสบการณ์ฝึกฝนมามากขนาดไหน เข้าใจขนาดไหน
ผ่านการฝึกเข้าคู่ต่อสู้มามากขนาดไหน ไม่ใช่เพียงแค่ รำๆ จับคู่ผลักมือ
ผลักกันไปผลักกันมา ทำให้คนกระเด็นได้แล้วจะต่อสู้ได้จริง
ดังนั้นการจะต่อสู้จริงโดยใช้มวยไทเก็กนั้น
ขึ้นอยู่กับระดับของผู้ฝึกในวิชาว่าฝึกถึงขั้นหรือไม่
ในด้านสุขภาพร่างกาย คุณประโยชน์ของมวยไทเก็กนั้น ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาโดยตลอด ทั้งในวงการแพทย์ สังคมผู้สูงอายุ และในหมู่ผู้รักสุขภาพแนวสมาธิ ไทเก็กสามารถพัฒนาสติสมาธิ จากการฝึกร่ายรำที่ต้องใส่ใจในรายละเอียด อาจเทียบได้ดั่งการฝึก วิปัสสนากายานุปัสนากรรมฐาน และพัฒนาระบบประสาทสัมผัสให้ฉับไวขึ้นการฝึกผลักมือ ในด้านความแข็งแรงของร่างกาย ไทเก็กให้กล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง ความยืดหยุ่นผ่อนคลายของกล้ามเนื้อทั้งร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังท่อนล่าง หรือสะโพก เอว ซึ่งในทางการแพทย์จีน ถือว่าส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของร่างกาย และยังเป็นที่ตั้งของจุดชีพจร มิ่งเหมินประตูชีวิต命门mìng mén อีกด้วย ซึ่งหากมิ่งเหมินแข็งแรง ก็จะทำให้เสริมเจิ้งชี่ 正气zhèngqìภูมิต้านทาน และขจัดเสียชี่ 邪气xiéqì พลังเสียสิ่งที่ก่อโรค โดยการเคลื่อนไหวของไทเก็กที่มีความช้า จึงทำให้เกิดการฝึกฝนกล้ามเนื้อมัดเล็กอื่นๆไปพร้อมกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้วย แต่ลักษณะของกล้ามเนื้อที่ได้จากการฝึกไทเก็ก จะไม่ใช่เหมือนกับคนที่ฝึกกล้ามเนื้อมาโดยเฉพาะอย่างคนเล่นเวท 负重训练fùzhòng xùnliàn แต่ผู้ฝึกไทเก็กจะได้กล้ามเนื้อที่มีความสมดุลทั้งด้านความแข็งแรงและความผ่อนคลายยืดหยุ่น พร้อมกับประสาทสัมผัสการควบคุมร่างกาย จึงทำให้ผู้ฝึกไทเก็กสามารถที่จะใช้แรงจากร่างกายได้มากกว่าคนที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากกว่า และอาจจะไม่เหมาะกับกับผู้ที่ต้องการการออกกำลังกายแบบคาดิโอหนักๆ
ในด้านสมาธิ และสติสัมปชัญญะ ไทเก็กนับเป็นกีฬาอันดับต้นๆที่เน้นฝึกด้านการพัฒนาจิตสติสมาธิ เนื่องจากท่วงท่าการเคลื่อนไหวที่ช้า และมากมาย จึงทำให้เกิดการสำรวจตนเอง เรียนรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายตนเอง จึงอาจเทียบได้กับการฝึกแนว สติปัฏฐานสี่ 四念住 sì niàn zhù ของพระพุทธศาสนา 佛教Fójiào การร่ายรำไทเก็กด้วยความถูกต้อง ยังเป็นการโคจรลมปราณ运气 Yùnqì ให้ใหลเวียนทั่วร่างกายได้อีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของการที่ลมปราณโคจรได้ทั่วร่างนั้น ย่อมหมายถึงสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วย สติจิตประสาทสัมผัสเฉียบคมฉับไว ในขุดนี้เบื้องต้นได้มีผลวิจัยมาแล้วว่าทำให้ผู้สูงอายุที่ได้รับการฝึกไทเก็ก ลดปัญหาด้านอุบัติเหตุเกี่ยวกับการล้ม การทำของตก และพัฒนาความทรงจำ ป้องกันความจำเสื่อมอีกด้วย
ในกลุ่มผู้ฝึกฝนไทเก็กที่มีความเชี่ยวชาญมากๆ
เช่นในระดับปรมาจารย์ มักจะมีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นคือ
สามารถมองเห็นอนาคตได้เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ อนาคตังสญาณ
ญาณล่วงรู้อนาคตได้ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของผู้ที่ได้รับการฝึกด้านฌาณสมาธิอย่างดีเยี่ยม
สนใจฝึก มวยจีน ไทเก็ก สามารถติดต่อได้ที่
โรงเรียนภาษาพาเพลิน