วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ตะลุยกังฟู ตอนที่ 2 ทำไม ไทเก็ก


ตะลุยกังฟู ตอนที่ 2 ทำไม ไทเก็ก

ตอนที่แล้วก็ได้เกริ่นกันไปบ้างแล้วเกี่ยวกับมวยไทเก็ก และคุณประโยชน์ของการฝึกไทเก็ก ว่าสามารถฝึกฝนเพื่อใช้ในการบำบัดสุขภาพกาย พัฒนาสุขภาพจิต อีกทั้งยังเป็นการฝึกฝนทักษะการป้องกันตัวเอง จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่เพราะอะไร ทำไมไทเก็กถึงมีคุณประโยชน์ขนาดนั้น

                มวยไทเก็ก หรือ ไท่จี๋เฉวียน เป็นกิจกรรมการออกกำลังกายที่มีลักษณะช้า และผ่อนคลายเป็นหลัก ตามหลักการ ในการเคลื่อนไหวแสวงหาความสงบ ในความสงบแสวงหาความเคลื่อนไหว(动中求静,静中求动Dòng zhōng qiú jìng, jìng zhōng qiú dòng) พื้นฐานไทเก็กนั้น เราเคลื่อนไหวให้เชื่องช้า เพื่อให้สติของเรามีเวลาสำรวจพิจารณาการเคลื่อนไหวของร่างกายของเรา เป็นการทำสมาธิให้จดจ่อสงบนิ่งเป็นหนึ่งเดียวกับการเคลื่อนไหว ดั่งคำว่า ในความเคลื่อนไหวแสวงหาความสงบ และเป็นการพิจารณา ว่าในการเคลื่อนไหวในทักษะใดทักษะหนึ่งนั้น เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องหรือไม่ มีอาการเกร็ง ใช้แรงเกินความจำเป็นหรือไม่ การขยับนั้นสอดคล้องสัมพันธ์กับร่างกาย บนล่างตามกัน(上下相随Shàng xià xiāng suíนอกในผสาน(内外相合Nèi wài  xiàng héเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ทักษะต่างๆด้วยศักยภาพร่างกายของเราให้ได้มากที่สุด

  เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวด้วยความช้า สงบ เปี่ยมไปด้วยจิตสมาธิที่นิ่งสงบ เราจะพบเห็นการเคลื่อนไหวมากมายที่อยู่ภายในร่างกาย เช่นลมหายใจที่เข้าออกขึ้นลง การถ่ายเทน้ำหนักของร่างกาย การใหลเวียนของโลหิต และลมปราณ(气เป็นต้น ดั่งคำว่า ในความสงบแสวงหาความเคลื่อนไหว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐาน ในการฝึกพัฒนาตนเอง เป็นการตีความเฉพาะแนวทางการฝึกด้านร่างกาย และสมาธิในเบื้องต้นเท่านั้น

                การเคลื่อนไหวร่างกาย เคลื่อนไหวด้วยความช้า ผ่อนคลาย สงบ ผสานกับลักษณะกลมโค้งของท่ามวยไทเก็กแล้ว การรำมวยไทเก็กจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างความสมดุลทางร่างกาย การเคลื่อนเบาผ่อนคลาย ทำให้ร่างกายปราศจากแรงกระแทกมากระทบข้อกระดูกต่างๆ การเคลื่อนไหวที่ช้าทำให้มีเวลาสำรวจการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ลดและเลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างผิดธรรมชาติ จนเกิดการสะสมจนอักเสบเรื้อรังได้

                ไทเก็กเมื่อรำจะต้องมีจิตสมาธิที่พร้อมในทุกท่วงท่าการเคลื่อนไหวในชุดท่ารำ ที่มีการเคลื่อนไหวสมดุลสลับผลัดเปลี่ยนต่างๆนานาผสานการเคลื่อนไหวที่ช้า หากในการฝึกนั้นเกิดสมาธิวอกแวก การเคลื่อนไหวไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เกิดการเสียหลัก เสียสมดุลจนเซ ยืนไม่มั่นคงได้ ดังนั้นเมื่อเราได้ฝึกไทเก็กจนเกิดความเคยชิน ก็จะทำให้ทุกๆการเคลื่อนไหวของเรานั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสมาธิ ประสาทสัมผัสที่ดีเยี่ยม  พร้อมร่างกายที่ถูกฝึกให้แข็งแรง กำลังขากำลังกายมีพละกำลัง มีสมดุลที่ดี


                ดังนั้น ไทเก็กจึงถูกเลือกให้เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย และจิตใจไปพร้อมๆกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากจะทำให้มีสติสมาธิมากขึ้น ไม่หลงไม่ลืม และมีประสาทสัมผัสที่ดีไม่เสียหลักหกล้มง่ายๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถฝึกฝนเรียนไทเก็กได้ในตอนสูงอายุแล้ว การศึกษาการเรียนที่ดีนั้น เริ่มต้นได้ทุกเพศทุกวัย ขอเพียงมีใจที่จะศึกษาอย่างจริงจัง คุณประโยชน์ของไทเก็ก ก็พร้อมจะเข้าสู่ร่างกายและจิตใจของคุณ




วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ตะลุยกังฟู ตอน มวยไทเก็ก1 ไทเก็กในปัจจุบัน

ตะลุยกังฟู ตอน มวยไทเก็ก1 ไทเก็กในปัจจุบัน

หากจะพูดถึงมวยจีน หลายๆคนเมื่อได้ยินคำนี้ก็น่าจะคิดถึงได้อยู่สองสามอย่างคือ มวยไทเก็กที่เหล่าผู้สูงอายุร่ายรำกันตามสวนสาธารณะ มวยเส้าหลินที่มีพระฝึกวิทยายุทธโด่งดังไปทั่วโลก และสุดท่ายก็น่าจะเป็น ยิปมัน ปรมาจารย์หย่งชุนที่โด่งดังจากภาพยนต์หลายๆภาคในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้



ในวันนี้จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับมวยไทเก็กที่สามารถพบเห็นได้มากที่สุด

ไท่จี๋เฉวียน 太极拳Tài jí quán หรือที่เราเรียกกันว่ามวยไทเก็ก เป็นศิลปะชนิดหนึ่งของจีน ที่มีความนิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยไท่จี๋เฉวียนนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ในกลุ่มเด็กและบุคคลทั่วไปก็ยังฝึกฝนไท่จี๋เฉวียนกันมากมาย เนื่องจากเป็นกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพจิต ยังเป็นศิลปะป้องกันตัวแบบโบราณอีกด้วย อีกทั้งในทางวงการแพทย์ยังใช้ไท่จี๋เฉวียนในการฟื้นฟูบำบัดร่างกายให้ผู้ป่วยในหลายๆโรคอีกด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มี疫情 yìqíng สถาณการณ์การระบาดของโรค冠状病毒  guānzhuàng bìngdúไวรัสโคโรน่า2019 ไท่จี๋เฉวียนก็ได้ถูกนำไปใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโควิดควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ด้วย 

ความนิยมในไท่จี๋เฉวียนนั้น นอกจากจะได้รับความนิยมเรื่องการฝึกเพื่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถใช้ในการฝึกฝนจิตใจ พัฒนา บริหารความคิด การฝึกปฏิกริยาตอบสนอง การเจริญสติ และสมาธิ รวมถึงการควบคุมร่างกายตนเองได้ดีอีกแนวทางหนึ่งด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่สามารถฝึกได้ แต่บุคคลทั่วไป หรือเด็กๆวัยรุ่นก็สามารถฝึกฝนได้เช่นกัน  และเมื่อได้รับการฝึกไท่จี๋เฉวียนอย่างถูกต้องแล้ว ก็สามารถที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกป้องกันตัว หรือพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ด้วย


ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน เราจะพบเห็นมวยไทเก็กได้มากมายตามสวนสาธารณะ หรือแม้กระทั่งสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อออนไลน์ หรือหนังสือ ซีดีๆ วีดีโอต่างๆ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของไท่จี๋เฉวียนเท่านั้น เนื่องจากไท่จี๋เฉวียนมุ่งเน้นที่สุขภาพเป็นหลัก จึงไม่น่าแปลกใจว่าจะพบเห็นผู้คนมากมายฝึกฝนศิลปะชนิดนี้กัน นอกจากศิลปะเพื่อสุขภาพแล้ว ในกีฬาระดับสากล ไท่จี๋เฉวียน ยังถูกจัดเข้าเป็นประเภทหนึ่งของกีฬาวูซู หรืออู่ซุ่ 武术  ซึงแปลว่าศิลปะการต้อสู้ในภาษาจีน ที่มีการแข่งขันในระดับกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ ซีเกมส์ และเอเซี่ยนเกมส์ ด้วย



สัปดาห์หน้า เตรียมพบกับ ตะลุยกังฟู ตอน มวยไทเก็ก 2

 

สนใจศึกษาวิชามวยจีน  มวยไท่จี๋เฉวียน หรือมวยไทเก็ก สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และนัดวันเรียนได้ที่ โรงเรียนสอนภาษาพาเพลิน  https://www.facebook.com/learnandjoy/



วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

วิชา ปาต้วนจิ่น 八段锦 และ การยืดเหยียด สำคัญสำหรับชี่กงอย่างไร

 

ทางเพจ TaiChi Thailand - Taiji for Life ร่วมกับ โรงเรียนภาษาพาเพลิน เปิดหลักสูตร มวยจีนเพื่อสุขภาพ ป้องกันตัว และวิชาวิชาชี่กง ปาต้วนจิ่น

Page: โรงเรียนภาษาพาเพลิน

https://www.facebook.com/learnandjoy/

 

Page: TaiChi Thailand - Taiji for Life

https://www.facebook.com/taichibythamyzhang/

 

วิชา ปาต้วนจิ่น 八段锦 Bā duàn jǐn และ การยืดเหยียด สำคัญสำหรับชี่กงอย่างไร



หลายคนมักจะเข้าใจว่า 气功 ชี่กง Qìgōng คือการฝึกลมปราณ ซึ่งการฝึกลมปราณหรือชี่กงนี้ เป็นการฝึกหายใจด้วยการนั่งสมาธิกำหนดจิตเท่านั้น

แต่ในความเป็นจริง ชี่กงนั้น มีทั้งการฝึกท่าเคลื่อนไหว การยืน การนั่ง การนอน โดยเฉพาะท่าเคลื่อนไหวนั้น บางท่าจะมีความยาก และใช้กำลังอย่างมากด้วย

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า 气血(qì xuè ชี่เซวี่ย) หรือเลือดลมนั้น ก็คือ เลือด(xuè เซวี่ย) กับปราณ(qì ชี่) มันไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อเราทำท่าใดท่าหนึ่งให้เลือดมันโคจรไหลเวียนไปทางนั้น ปราณชี่มันก็จะไปทางนั้นด้วย

ตามหลักแพทย์จีน การไหลเวียนของปราณชี่ หากชี่เกิดติดขัด คั่งค้าง พร่อง อุดตัน ณ ที่แห่งใด จุดๆนั้นย่อมเกิดอาการบาดเจ็บ หรืออาจส่งผลให้อวัยวะที่เกี่ยวโยงกันด้วยนั้นเกิดความผิดปรกติ

เส้นทางการโคจรของชี่ เรียกว่า จิงลั่ว经络jīng luò หรือที่คนไทยเราเรียกว่าเส้นชีพจร เส้นชีพจรแต่ละเส้นจะเชื่อมโยงอวัยวะต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งเส้นชีพจรก็จะมีจุดชีพจรต่างๆมากมายรายเรียงกันในเส้น ซึ่งเส้นชีพจรนี้ ก็อาศัยอยู่ตามร่างกาย กล้ามเนื้อ และพาดผ่านกระดูกต่างๆ ดังนั้นกล้ามเนื้อที่ติดเกร็งมากเกินไป พังผืด กระดูกที่เรียงตัวผิดปรกติ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ชี่ไม่สามารถโคจรไปตามจุดต่างๆเส้นต่างๆได้

การฝึกชี่กงในหลายๆสำนัก จึงมักจะประกอบไปด้วยท่วงท่าที่คล้ายกายบริหาร หรือยืดเส้นแบบโยคะ เนื่องจากการยืดเส้นเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนการฝึกชี่กง แต่กายบริหารหรือโยคะก็ไม่สามารถที่จะฝึกแล้วกลายเป็นชี่กงไปได้

ปาต้วนจิ่น8ท่า เป็นท่วงท่าที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นฐานการฝึกชี่กง ด้วยการยืดเหยียดส่วนต่างๆที่สำคัญของการฝึกเช่น แขน ใหล่ คอ กระดูกสันหลัง เอว ขา สะโพก เป็นต้น นอกจากการยืดเหยียดและกายบริหารแล้ว ท่วงท่าในปาต้วนจิ่น ยังเป็นการฝึกชี่กงพื้นฐานด้วย

การฝึกปาต้วนจิ่น เป็นการขยับร่างกายประกอบการหายใจ เมื่อเราทำท่าได้ถูกต้องจนเกิดความเคยชินแล้ว จะสามารถรับรู้ได้ถึงการไหลเวียนของเลือด และกระแสของลมหายใจ ความร้อนของเลือดที่ไหลเวียน

เมื่อสามารถรับรู้การไหลเวียนโคจรต่างๆในร่างกายภายใน ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวท่วงท่าภายนอกแล้ว ก็ต้องฝึกต่อเนื่องจนกว่าการรับรู้จะเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นเพียงกำหนดจิตนึกคิดเพียงเล็กน้อย การโคจรไหลเวียนภายในก็สามารถทำได้อย่างถูกต้องตามแนวทางที่ฝึกฝนมา

ในขั้นนี้ หากมองเพียงผลลัพธ์การฝึกเพียงภายนอก ร่างกายย่อมมีสุขภาพที่แข็งแรง เนื่องจากการยืน การย่อ การก้าวเดิน การเหยียดแขน การยืดตัว ยืดหลัง และท่าต่างๆนั้นสร้างความแข็งแรงยืดหยุ่นให้ร่างกาย ทำให้หัวใจปอดและอวัยวะอื่นๆได้ออกกำลังกาย ให้เลือดลมไหลไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เต็มที่ และที่สำคัญนั้นคือ สมาธิ สติ ความทรงจำที่ได้ถูกกระตุ้น ก็ย่อมทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับการพัฒนาอย่างองค์รวม

เมื่อผ่านขั้นพื้นฐานแล้ว ในขั้นการนั่งสมาธิ ก็เป็นการกำหนดจิตและกำหนดลมหายใจตามแบบท่วงท่าที่เราฝึกนั่นเอง

สิ่งที่จะได้จากขั้นตอนนี้คือ การฝึกภายใน จิตที่มั่นคง สติที่มีความไวรู้ทันการเคลื่อนไหวรู้ทันอารมณ์ ความคิด และสิ่งที่มากระทบต่างๆ กำลังของสมาธิที่มีมากขึ้น ทำให้มองเห็นรับรู้สิ่งต่างๆได้ละเอียดขึ้นชัดเจนขึ้น และสิ่งที่ตามมาคือ ปัญญาญาณจิตประสาทในการไตร่ตรองใคร่ครวญการกระทำต่างๆ บางคนเข้าใจว่ามันเป็นสัญชาติญาณ แต่หากเป็นสัญชาติญาณธรรมดาที่ติดตัวมา เราจะไม่ต้องมาทนฝึกสิ่งเหล่านี้เลย แต่จิตประสาทปัญญาญาณนั้นเป็นสัญชาติญาณพิเศษที่ถูกฝึกมาดีแล้ว

สมาธิ ไม่ใช่ ชี่ แต่ อี้ หรือจิตที่มีสมาธิสามารถชักนำชี่ได้ ส่วนชี่จะโคจรไปได้หรือไม่ขึ้นกับกำลังสมาธิดีหรือไม่ เส้นชีพจรมีความแข็งแรงคล่องหรือไม่ ร่างกายกระดูกข้อต่างๆมีการเรียงตัวตามธรรมชาติหรือไม่

ปาต้วนจิ่น มีเพียงแปดท่า แต่แปดท่านี้สามารถแยกฝึกได้อีกเป็นหลายๆท่า แต่ละท่ามีจุดสาระสำคัญในการฝึกที่แตกต่างกัน และที่สำคัญ ปาต้วนจิ่น ไม่ใช่แค่กายบริหารยกแขน เหยียดแขน หมุนแขน ก้มตัว เอี้ยวตัว หรือกายบริหารทั่วไป แต่ปาต้วนจิ่นยังมีเคล็ดลับอีกมากมาย ซึ่งซ่อนอยู่ในท่าทาง และต้องถ่ายทอดปากเปล่าจากผู้สอนสู่ผู้เรียนเท่านั้น ไม่สามารถดูหรือฝึกได้เองจากท่วงท่าภายนอก

ซึ่งปาต้วนจิ่นนอกจากกายบริหารแล้ว ยังให้ผลทางการดึงเส้น ดั่งวิชาดัดกระดูก เซินจินป๋ากู่伸筋拔骨 Shēn jīn bá gǔ ให้เรียงตัวตามธรรมชาติด้วย เหมาะสำหรับผู้มีอาการออฟฟิตซินโดรม หลังค่อม ปวดใหล่ ปวดคอต่างๆ

เมื่อสุขภาพพลานามัย จิตประสาทพร้อม การใช้ชีวิตประจำวันก็จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น และการเรียนวิชามวยไท่จี๋เฉวียน (มวยไท้เก็ก)太极拳Tàijí quán หรือมวยจีนอื่นๆก็ง่ายขึ้น

--------

สอนวิชาปาต้วนจิ่น มวยไท่จี๋เฉวียน(ไทเก็ก) มวยจีนเพื่อสุขภาพ และการป้องกันตัวด้วยมวยจีน

Learn And Joy Language School โรงเรียนสอนภาษาจีน

https://www.facebook.com/learnandjoy