วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

มวยกระเรียนในคาราเต้

มวยกระเรียนในฮกเกี้ยนนั้นแต่ก่อนมีมากมายหลายสาย แต่ปัจจุบันนั้นหายสาบสูญและโดนกลืนเข้าไปรวมใน วิชากระเรียนขาวจนหมด ซึ่งปัจจุบันเราสามารถเห็นได้มีสองสำนักคือ 永春白鹤拳 หย่งชุนไป๋เฮ่อเฉวียน และ 鸣鹤拳 หมิงเฮ่อเฉวียน 

คาราเต้โกจูริว ริวเอริว นั้นอาจารย์ผู้สอนนั้นเป็นถึงผู้สืบทอดของมวยหมิงเฮ่อ ชื่อเซี่ยจงเสียง谢宗祥 ดังนั้นคาราเต้จึงอาจนับได้ว่าเป็นสายหนึ่งของมวยจีนก็ว่าได้ 

คาราเต้นอกจากพัฒนาวิชาที่ได้เล่าเรียนศึกษามาจนกลายเป็นคาราเต้ในปัจจุบันนี้ บางสำนักก็ยังคงความเป็นมวยกระเรียนเอาไว้อยู่ โดยรักษากาต้าต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ของกระเรียน เช่น ซันจิน เทนโช ปาปุเรน ฮักกากุ(ฮักกุซุรุ-ฮักกุโจ) 

ทีนี้เราลองมาดูเปรียบเทียบท่ารำระหว่าง มวยกระเรียนและคาราเต้กันว่า แตกต่างกันอย่างไร ลองศึกษาดูครับว่า ทำไมคาราเต้บางท่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีหากได้ดูท่ารำมวยจีนแล้วอาจจะเข้าใจอะไรขึ้นบ้างครับ
------------------------------------------------------------------------------------------
八步连 Happoren Papuren
มวยเส้นปาปู้เหลียนของมวยกระเรียน 
สองคลิปบนนีเป็นมวยหมิงเฮ่อของสาย หวงซิ่งเสียน ซึ่งได้นำมวยหมิงเฮ่อไปผสมกับมวยไท่จี๋ตระกูลหยังสายเจิ้งมั่นชิงไปแล้ว ดังนั้นการเคลื่อนไหวจะมีความช้า และเป็นวงมากกว่ามวยหมิงเฮ่อแต่ดั้งเดิม แต่ปัจจุบันหามวยหมิงเฮ่อแบบเดิมๆไม่ได้แล้ว เพราะสมัยนั้นผู้สืบทอดหมิงเฮ่อที่โดดเด่นที่สุดก็คือ หวงซิ่งเสียน 
Nogiwa Toshiaki สำนัก Shitokai ShitoRyu

Hiromi Inagaki สำนัก Hayashi-Ha Shitoryu  


สำนัก Shukokai ShitoRyu
--------------------------------------------------------------------------------------------------


白鹤 Hakkutsuru Hakkaku Paiho กระเรียนขาว
คาดว่ากาต้าชุดนี้ เป็นซันจินเส้นหนึ่งของมวยกระเรียนที่อาจารย์คาราเต้ทั้งหลายได้รับสืบทอดมา เนื่องจากในมวยกระเรียนมีท่าซันจินหลายแบบ ดังนั้นกาต้านี้จึงแยกชื่อออกมาจากซันจิน(ซันชิน)
ในภาษาจีนกลางเรียกว่า 三战ซันจั้น กวางตุ้งเรียกว่า ซ้ามจิ๋น เนื่องจากกาต้าเหล่านี้เป็นซันจินเหมือนกัน นักคาราเต้เลยเรียกกันว่า กระเรียนขาวเพื่อให้เกียรติกับต้นตำรับ ซึ่งแล้วแต่สำนักว่าจะอ่านคำว่ากระเรียนขาวว่าอะไร
Paiho หรือ Hakkutsuru สำนัก Ryuei-Ryu โดย Tsuguo Sakumoto
Teruo Hayashi สำนัก Hayashi-Ha ShitoRyu
สำนัก Shodokan Gojuryu โดย Oshiro Zenei
Kenyu Chinen สำนัก Shorin-Ryu
Matayoshi Shinpo สาธิต Hakkucho kata
Toshiro Sasaki สำนักYuishinkan Gojuryu
--------------------------------------------------------------------------------------------------


二十八宿 Neipai二八 
มวยชุดนี้เป็นชุด28ดารา เรียกว่า เอ้อสือปาซิ่ว สมัยก่อนเคยเจอคลิปนึง ซึ่งเป็นการรำแบบเดิมๆของมวยหมิงเฮ่อ ไม่มีส่วนผสมของมวยไทเก็ก ในคลิปนั้นจะมีความคล้ายกับกาต้า เนไป่ และนิไปโปมาก มากกว่าของมวยหมิงเฮ่อของสายหวงซิ่งเสียน 
มวยเอ้อสือปาซิ่ว ของสายหวงซิ่งเสียน
Takaya Yabiku 
沖縄振山流湖真館空手古武道協会
Okinawa Sinzanryu Koshinkan Karate Kobudo Kyokai 
กาต้าเนไป่ โดยริกะ แชมป์โลกกาต้าปัจจุบัน 
เซนเซคานาซาว่า แห่งโชโตกัน ก็รับท่านี้มาจากนาฮาเต้ แล้วนำมาผสมผสานประยุกต์จนกลายเป็นท่าของโชโตกัน ใช้ชื่อว่า นิจูฮัจ หรือนิจูฮาจิโฮ Nijuhachi-ho
-----------------------------------
ในมวยเส้น28ดารานี้ ในคาราเต้จะแบ่งเป็นสองท่าคือ เนไป่ และนิไปโป โดยเนไป่จะมีการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนกว่านิไปโป ซึ่งผู้เขียนคาดว่าเนื่องจากมวยเส้นนี้ได้รับมาจากคนละสำนักกัน จึงทำให้เกิดความแตกต่างกัน แต่เนื่องด้วยมาจากกระเรียนจึงมีความคล้ายกันอยู่มาก

二十八Nipaipo
สาธิตโดย Nakayama Mie อดีตแชมป์กาต้า จากสำนัก Inoue-Ha Shito Ryu
Hasegawa yukimitsu สาธิต และสอนของสำนัก Shitokai 
-------------------------------------------
轮手 Tensho Rokkishu 
ท่านี้ดูคล้าย เทนโช มากที่สุดแล้วเท่าที่หาคลิปได้ แต่เมื่อก่อนมีคลิปนึง รำคล้ายยิ่งกว่านี้อีก เสต็บการเดิน การปัดมือแต่ละท่าเหมือนกันเลย
Gogen Yamaguchi เจ้าสำนัก Yamaguchi-Ha Goju-Ryu อาจารย์ของเซนเซ Sadahiro Tetsuo
อาจารย์ Sadahiro Tetsuo บิดาแห่งโกจูริวไทย Goju Ryu

Kuba Yoshio GojuRyu
Morio Higaonna Jundokan Gojuryu

Hayashi-Ha Shito-Ryu

ShotoKai โชโตกันริว อีกรูปแบบหนึ่งผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของฟุนาโคชิ

หลายคนที่ฝึกคาราเต้คงจะคุ้นเคยกับชื่อสำนักคาราเต้ในปัจจุบันว่ามี4 สำนักใหญ่ คือ Shotokan-Ryu Shito-ryu Goju-Ryu Wado_ryu เป็นต้น ซึ่งสี่สำนักนี้สามารถพบได้ทั่วไปในการแข่งขันกีฬาคาราเต้

แต่ในชื่อของ โชโตกันนั้น ยังมีคำว่า โชโตไก และโชโตไก นี้คืออะไร

Shotokai โชโตไก เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการของ Dai Nihon Karate-do Kenkyukai ซึ่งเป็นสมาคมที่ดำเนินการสอนคาราเต้มาแต่ดั้งเดิมของ Funakoshi Gichin ตั้งแต่ปี 1930 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Dai Nihon Karate-do Shotokai ในปี 1936 ชื่อ Shotokan เป็นเพียงชื่อโรงฝึกหรือโดโจ ของสมาคมนี้เท่านั้น และเรียกติดปากกันต่อๆมาว่า Shotokan-Ryu และต่อมาได้กลายมาเป็น Japan Karate Association 

ในขณะที่เซนเซ  Gichin Funakoshi ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านมักพูดเสมอว่า คาราเต้ไม่ใช่กีฬา แต่เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว การทำให้คาราเต้เป็นกีฬานั้นจะทำให้คุณค่าของคาราเต้เสื่อมลง และคาราเต้นั้นอันตรายหากพลาดพลั้งกันขึ้นอาจทำให้เกิดบาดเจ็บสาหัส และการสูญเสียชีวิตในการแข่งขันได้ ดังนั้นในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ โชโตกันจึงไม่มีการแข่งขันใดๆ
ต่อมาเมื้อสิ้น เซนเซ  Funakoshi Gichin ไปแล้ว ได้เกิดการแบ่งฝ่ายกันออกไป โดย Shigeru Egami ได้ยืนกรานคำสอนของอาจารย์ตนว่า ไม่ให้มีการแข่งขัน จึงแยกตัวออกจาก Japan Karate Association และสอนคาราเต้ตามแนวทางเดิม และเรียกตนว่าเป็น Shotokai ดังเดิม 

ส่วนทาง Masatoshi Nakayama ก็ยังยืนยันตามเจตนาของตนที่อยากจะพัฒนาคาราเต้ให้สามารถเป็นกีฬาได้ โดยที่ยังคงความเป็นคาราเต้เอาไว้อยู่ให้ได้มากที่สุด ไม่ให้คุณค่าของคาราเต้หายไปอย่างที่อาจารย์ของตนได้เคยกล่าวเตือนไว้ ที่นากะยาม่ามีความคิดเช่นนี้เพราะท่านเองได้ศึกษาภาษาจีน และได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ต่างๆในประเทศจีนเช่น มวยจีน ซึ่งท่านอยู่จีนนานถึง9ปี และพยายามนำความรู้ที่ได้มานั้นผสมผสานกับวิทยาศาสตร์การกีฬาและคาราเต้ จนคาราเต้โชโตกันพัฒนาอย่างเป็นระบบจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบการสอนของโชโตกันนั้นนับว่าเป็นเอกลักษณ์เป็นขั้นตอนมาก


เทคนิคของโชโตไก นั้น จะแตกต่างจากโชโตกันมากอยู่ในเรื่องของการใช้แรง โชโตกันจะให้ความสำคัญกับรูปแบบท่วงท่าจากภายนอก(ท่วงท่ากล้ามเนื้อ)สู่ภายใน(แรง) แต่โชโตไก จะให้ความสำคัญจาก ภายใน(แรง)สู่ภายนอก(กล้ามเนื้อท่วงท่า) 

ดังนั้น โชโตกันจึงเน้นฝึกท่วงท่าจนพัฒนาท่วงท่าไปต่างๆนานา สามารถฝึกจนพัฒนาท่วงท่าให้สามารถใช้แรงน้อยก่อเกิดเป็นแรงมหาศาลในการโจตีป้องกันได้ หรือที่เรียกในภาษาคาราเต้ว่า Kime ซึ่งคิเมะ แปลว่าการรวมของพลังซึ่งพลังนั้นเกิดจากแรงกล้ามเนื้อภายนอก รวมกับการหายใจ การบิดหมุนการส่งแรงจากทั่วทั้งร่างกาย และสมาธิจิตในการตั้งมั่น  

แต่โชโตไก จะเน้นเรื่องแรง ดังนั้จะเน้นพัฒนาเรื่องแรงจากภายใน ไม่สนใจเรื่องท่วงท่าภายนอก หรือแม้แต่กล้ามเนื้อ การใช้ท่วงท่าของคาราเต้แบบโชโตไก จึงไม่มีคำว่า Kime ดังจะเห็นได้จากการฝึกพื้นฐานและกาต้า การเคลื่อนไหวจะไม่มีจุดหยุดของแรง 

โชโตไกนั้นจะเน้นคาราเต้แบบดั้งเดิมคือ เน้นการต่อสู้ด้วยมือเท้าเข่าศอกไหล่กระแทก ตามพื้นฐานทั่วไปของคาราเต้ เน้นการหักล๊อคจับทุ่มตามความหมายท่ารำกาต้า หากมองเผินๆจะเป็นคาราเต้ท่าย้วยๆที่ต่อสู้เหมือนไอคิโดฝึกรันโดริ

(สาธิตคาราเต้โชโตไก โดย ชิเกรุ เอกามิ ศิษย์ของฟุนาโคชิ และคณะ)

การฝึกพื้นฐานของคาราเต้แต่เดิมนั้น เป็นการส่งแรงของร่างกายผ่านฝ่าเท้า ข้อเท้า เข่า เชิงกราน สะโพก หลัง ไหล่ ศอก แขน หมัด ดังนั้นเมื่อเคลื่อนไหวถึงจุดที่แขนขายืดเหยียดออกไปสุดแล้ว ท่าก็จะหยุดเมื่อนั้น หรือมีการกำหนดหยุดในระยะจังหวะต่างๆ ตามท่วงท่าตามแรงส่งที่โคจรในร่างกาย จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า Kime ในคาราเต้ทุกๆสาย ทุกๆสำนักจะมีสิ่งนี้เหมือนกันหมด เพียงแต่ว่าอาจจะเรียกไม่เหมือนกัน ที่เรียกกันทั่วไปในโอกินาว่าคือ Chinkuchi สำนักที่เรียก Kime สำนักแรกก็อาจจะเป็นโชโตกันนี่เอง เนื่องจากโชโตกันเป็นรูปแบบแรกที่ออกจากโอกินาว่ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่  และโดยทั่วไปก็มักจะเป็นการฝึกจากภายนอกคือเน้นเรื่องท่วงท่าและพัฒนากล้ามเนื้อเป็นหลัก เพราะสอนในฐานะที่เป็นศิลปะเพื่อสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง เนื่องจากสมัยแพ้สงคราม ญี่ปุ่นถูกสั่งห้ามฝึกศิลปะการต่อสู้ แต่คาราเต้สามารถสอนได้เนื่องจากแอบอ้างว่าเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพเหมือนดั่งการรำไท่จี๋(ไทเก็ก) ดังนั้นการฝึกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อท่วงท่า จึงพัฒนาพร้อมกับรูปแบบของการใช้แรงแบบโชโตกันที่เรียกว่า Kime คนทั่วไปจึงคิดเข้าใจผิดไปว่า Kime นั้นต้องใช้แรงกล้ามเนื้อมาก ต้องเกร็งกล้ามเนื้อในการหยุดหมัดหยุดการโจมตี ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดกันมาตลอด ย้ำอีกครั้งว่า

Kime คือการส่งแรงออกไปตามท่วงท่า จนมันสุดระยะของแขนขา เหมือนสุดแล้วท่าก็จะนิ่งเอง ไม่ใช่การเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อหยุดท่าให้นิ่งตามรูปแบบของนักกีฬาคาราเต้ปัจจุบัน”

โชโตไก เน้นเรื่องแรงมากกว่า ดังนั้นจึงไม่ให้ความสำคัญกับท่าทางมากนัก และยิ่งเป็นเรื่องกล้ามเนื้อ ยิ่งไม่ให้ความสำคัญ เพราะกล้ามเนื้อจะไปทำให้การใช้แรงในบางท่าเกิดการติดขัดได้ง่าย หากไม่มีความเข้าใจในร่างกายอย่างแท้จริง

(กิโก ฟุนาโคชิ ลูกชายกิชิน ฟุนาโคชิ อีกหนึ่งอาจารย์ที่โชโตไกให้ความสำคัญ จะเห็นว่า อาจารย์กิโก ท่าคาราเต้นั้นยังจะเป็นการส่งแรงแบบเดิมๆของคาราเต้ ไม่ใช่ kime แบบโชโตกันปัจจุบัน และไม่ใช่แบบไหลลื่นตามคติของโชโตไก )

สิ่งที่เป็นประเด็นในเรื่องนี้ อาจจะเกี่ยวโยงได้ในทัศนคติของ มวยไท่จี๋ และไอคิโด ในสมัยนั้น มีอาจารย์ไท่จี๋ตระกูลหยัง ชื่อ หยังหมิงสือ 楊名时 ได้เข้ามาฝึกคาราเต้โชโตกัน โดยปกปิดฝีมือตัวเองไว้ จนฝึกได้ถึงระดับสายดำขั้น6ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้ฝึกสอนระดับสูงของคาราเต้ ซึ่งในขณะนั้นอาจารย์คาราเต้โชโตกันก็ได้แลกเปลี่ยนวิชากัน ในวิชาไท่จี๋หรือไทเก็กนั้น จะมีลักษณะไม่เกร็งกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายให้แรงถูกส่งออกไปอย่างไม่มีสิ้นสุด ไม่ติดขัดด้วยกำลังของกล้ามเนื้อ

และเซนเซ Shioda Gozo ปรมาจารย์ไอคิโดสำนัก Yoshinkan ลูกศิษย์ของผู้ก่อตั้งไอคิโด Morihei Ueshiba ในสมัยนั้น เซนเซชิโอดะได้เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยทาคุโซคุเมืองโตเกียว และมีความสัมพันธ์อันดีกับชมรมคาราเต้โชโตกันที่มหาวิทยาลัยนั้น(มหาวิทยาลัยของโอมูระเซนเซ เรื่องเซนเซชิโอดะนี้เซนเซโอมูระเป็นผู้เล่าให้ฟังด้วยตนเอง)  เซนเซชิโอดะกล่าวว่า “จริงๆแล้วการโจมตีที่ดีไม่ควรจะมีจุดสิ้นสุดของแรง มันควรจะเป็นพลังแบบที่ไหลออกไปไม่มีวันสิ้นสุด เป็นพลังที่ปะทะโดนคู่ต่อสู้เมื่อไหร่ก็ทะลุผ่านออกไปเลยไม่ควรมาหยุดอยู่แค่จังหวะสิ้นสุดของแขนขา ซึ่งมองจุดนี้แล้ว คาราเต้ก็น่าจะเป็นในลักษณะนี้เหมือนกัน”

 จากจุดที่อาจารย์ทั้งสองให้แนวคิดมานี้ อาจจะเป็นจุดที่ทำให้ทางสายของโชโตไก เน้นพัฒนาเรื่องแรงมากขึ้นจนท่วงท่าคาราเต้เริ่มหมด kime ไปอย่างที่เห็นในคลิปวีดีโอ ซึ่งยังมีควาแตกต่างจากตัว Gichin Funakoshi อยู่มากนัก 

(สาธิตโดย Mitsusuke Harada ลูกศิษย์ของ ฟุนาโคชิ กิชิน และเอกามิ ชิเกรุ)


(เหล่าศิษย์ของฟุนาโคชิ กิชิน จากมหาวิทยาลัยเคโอ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังคงความเป็นโชโตกันเดิมๆ ไม่ได้เปลี่ยนท่าตาม JKA หรือ Shotokai ) 

(Tetsuji Murakami อาจารย์คนสำคัญอีกท่านของโชโตไก ศิษย์ของกิชิน ฟุนาโคชิ จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะแยกตัวออกมา สมัยที่ท่านหนุ่มๆซ้อมที่ JKA ท่วงท่าก็ยังเป็นแบบโชโตกันอยู่ แต่พอต่อมาแยกตัวเป็น โชโตไกแล้ว ท่วงท่าจะเปลี่ยนไป) (ในคลิปมีช่วงที่ซ้อมต่อสู้ และถ่ายรูปกันที่หน้า JKA)

เปรียบเทียบกาต้าเทคกิโชดัน สี่แบบแบบโชรินริว แบบฟุนาโคชิ กิชิน แบบโชโตไก และแบบโชโตกัน จะเห็นพัฒนาการ

( Naihanchi Shodan สำนัก Seibukan Shorin-Ryu โดย เจ้าสำนักZenpo Shimabukuro)
(Seibukan Shorin-Ryu or SukunaiHayashi-Ryu)
(Tekki Shodan โดย Funakoshi Gichin ผู้ก่อนตั้งโชโตกันริว)
(Tekki Shodan โดย Shotokai)
(Tekki Shodan โดย Naka Tatsuya สำนัก Shotokan JKA)


วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ และความงมงายบนเขาคิชฌกูฏ

เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ และความงมงายบนเขาคิชฌกูฏ

                หลายคนคงจะรู้จักเขาคิชฌกูฏเมืองไทยแห่งจันทบุรี ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความศรัทธาของสาธุชาวพุทธ ผู้ที่แสดงบุญจาริกขึ้นไปสักการะรอยพระพุทธบาท และหินลูกบาตรซึ่งมีความเชื่อว่าหินลูกนั้นลอยอยู่เหนือยอดเขาคิชฌกูฏ ซึ่งครูบาอาจารย์ท่านก็ได้ทดลองนำสายสิญจน์มาลอดผ่านช่องว่างที่หินนั้นตั้งอยู่ก็ปรากฏว่าสามารถลอดผ่านได้อย่างน่าอัศจรรย์ จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันความเชื่อความศรัทธาว่า หินลูกนี้ลอยอยู่ได้ด้วยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์เถระ รวมไปถึงเทพเทวดาที่คอยปกปักรักษารอยพระพุทธบาทนี้
                เขาคิชฌกูฏนั้นเป็นเขาที่มีทางขึ้นสูงชัน รถยนต์ธรรมดาไม่สามารถขับขึ้นไปได้ ต้องใช้รถที่แต่งเครื่องยนต์พิเศษและการขับขี่ที่เชี่ยวชาญชำนาญทางเป็นอย่างสูง ถึงจะสามารถขับขี่ขึ้นไปได้ และเมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ยังต้องเดินเท้าขึ้นไปเนื่องจากรถไม่สามารถขับขึ้นไปได้ ซึ่งการเดินทางในปัจจุบันนี้อาจจะเรียกได้ว่ามีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
แต่เดิมเขาคิชฌกูฏขึ้นชื่อเรื่องความลำบากในการขึ้นไปสักการะรอยพระบาทมาก เนื่องจากต้องเดินเท้าเข้าป่าที่มีทั้งสัตว์ป่าดุร้าย การหลงป่า แถมยังเป็นเขาสูงชัน ดังนั้นผู้ที่จะไปสักการะได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ตั้งใจแน่วแน่ และมีความศรัทธาสูงจริงๆ เนื่องจากความตั้งใจอย่างแน่วแน่ไม่ลดละความพยายามนั้น เป็นสมาธิชนิดหนึ่ง การครองความตั้งใจอย่างนี้จนฝ่าความลำบากไปสักการะพระบาทได้นั้น จึงเต็มเปี่ยมไปด้วยอานิสงค์ของกุศลผลบุญอย่างสูง สร้างความปิติสุขอิ่มใจให้กับผู้แสวงบุญเป็นอย่างมาก และด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งรอยพระพุทธบาทรวมกับกุศลผลบุญที่ตั้งใจมากราบสักการะรอยพระพุทธบาทนั้นจึงยังผลสำเร็จมาสู่คำอธิฐานต่างๆได้อย่างไม่น่าเชื่อ จึงเป็นที่มาของการเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเขาคิชฌกูฏ

สิ่งที่ว่ามาข้างต้นมันไม่ใช่สิ่งงมงาย แต่เป็นสิ่งที่เหนือการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และสามารถพบได้มากในเรื่องราวตำนานทางพระพุทธศาสนา และผู้ที่สามารถสัมผัสได้จะต้องเป็นผู้ที่มีการฝึกจิตในสมาธิจนเป็นผู้มีจิตละเอียดถึงสามารถที่จะรับรู้ในสิ่งที่เป็นสิ่งละเอียดได้
แต่สิ่งที่มาคู่กันพร้อมกับความศรัทธา และสิ่งที่เป็นสิ่งละเอียดที่ต้องใช้สมาธิจิตในการสัมผัสแล้วนั้น ก็มักจะเป็นความงมงาย ความเชื่อที่ปราศจากปัญญา รวมไปถึงการหลอกลวงจากผู้ที่ฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์ ดังจะเห็นได้จากการระหว่างทางขึ้นเขา จะมีพระพุทธรูปวางเรียงกันมากมายตามโขดหิน มีการโปรยดอกไม้ตามตามพื้นทั้งทาง และตามตอไม้ มีการเอาธูปไปค้ำตามซอกหิน มีเอาเหรียญไปแปะไว้ตามหิน ถามว่าสิ่งเหล่านี้ทำไปเพื่ออะไร เป็นสิ่งที่ศาสนาพุทธสอนจริงหรือ ยิ่งไปกว่านั้นพ่อค้าแม่ขายบางคน โฆษณาขายดอกไม้ว่า เป็นประเพณีเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าต้องซื้อดอกไม้ไปโปรยระหว่างทางเนื่องจากโปรยให้เทพเทวดานั้นรับรู้รับทราบว่าเราผู้แสวงบุญมาแล้ว โปรยต้อนรับเทพเทวดาที่มาสักการะรอยพระบาท
เอากับเขาสิ มีแต่เทวดามาร่วมอนุโมทนากับผู้แสวงบุญ มาปกปักรักษา มาต้อนรับผู้แสวงบุญ แต่นี่กลับกลายเป็นผู้แสวงบุญต้องโปรยดอกไม้รับเทพเทวดา โปรยดอกไม้เพื่อประกาศบอกให้เทวดารู้ว่าเรามาแล้ว ไอ้เรื่องโปรยดอกไม้หน่ะ มันเกิดจากผู้คนจะเอาดอกไม้ไปสักการะรอยพระบาท แต่ดอกไม้นั้นล่วงหล่นตามรายทาง คนที่เดินตามๆกันมาเห็นดอกไม้ตามทางก็คิดว่าคราวหน้ามาต้องหาดอกไม้มาโปรยตามเขากันบ้าง มีคนทำถุงดอกไม้แตกหล่นอยู่บนตอไม้ คนหลังๆเห็นดอกไม้ท่วมตอก็คิดว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องเอาดอกไม้มาบูชา ก็กราบไหว้ตอไม้กันยกใหญ่ คนหลังๆมาเห็นคนกราบไหว้ยังไม่มีธูปปักก็หาธูปมาปักกราบไหว้กันยกใหญ่

เดินขึ้นเขาเหนื่อยๆแต่จะนั่งพักก็อายคนอื่นว่าไม่แข็งแรงก็แสร้างทำเป็นเอาธูปมาปัก เอาไปค้ำไว้ตามซอกหิน ทำเนียนว่าฉันไม่ได้หยุดพักเพราะเหนื่อยนะ แต่ฉันกำลังอธิฐานอยู่ คนเห็นต่อๆกันก็คิดว่า โอ้....การเอาธูปไปปักค้ำไว้ที่ซอกหิน อุปมาเหมือนกับเราค้ำภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ ชีวิตนี้ก็จะได้มีแต่คนค้ำจุนอุปถัมภ์ ไม่ร่วงหล่น คนก็แห่กันเอาธูปไปปักค้ำหินกันจนดูรกตา ทิ้งขยะให้เกลื่อนภูเขา บางคนยิ่งกว่าคงจะไม่มีธูปไปค้ำภูเขากับคนอื่นเขา ก็แก้เขินด้วยการเอาเหรียญมาขีดๆขูดๆก้อนหิน เผอิญเหรียญมันติดกับแผ่นหิน ติดกับผนังหินได้พอดี ก็อเมซิ่งกันยกใหญ่ คนเห็นต่อๆมาก็คิดว่า โอ้....พระเจ้า หากเราเอาเหรียญมาติดได้ แสดงว่าจะเป็นการดูดเงินดูดทองดูดโชคลาภสินะ ก็แห่กันเอาเหรียญไปติดตามผนังภูเขากัน เอาเหรียญติดไม่ได้ก็สรรหาแบ๊งค์ต่างๆมาม้วนๆแล้วก็ยัดตามรูตามซอก กว่าจะขึ้นมาถึงยอดเขาที่สักการะรอยพระบาท ธูปก็หมด ดอกไม้ก็หมด เหรียญที่จะมาทำบุญบูชาชำระหนี้สงฆ์ ร่วมบุญก็หมดเกลี้ยง กลายเป็นขึ้นมาสักการะพระบาทตัวเปล่า พร้อมความศรัทธาต่อความงมงายจนหมดสิ้น


เรื่องเหล่านี้คณะสงฆ์ที่ดูแลเขาคิชฌกูฏ พยายามประชาสัมพันธ์กันมานาน แต่ก็น่าแปลกใจที่มันแทบจะไม่มีผลต่อความงมงายของคนไทยเราเลย จะว่าเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ หรือว่าจะเพราะขาดความเฉลียวดีนะ




การสักการะรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏให้ได้กุศลผลบุญ
1.     ควรจะตั้งจิตตั้งใจให้แน่วแน่ เป็นไปได้ก่อนจะมาควรถือศีลห้าให้ครบ ทำจิตใจสบายๆ เตรียมดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องสักการะอื่นๆไว้ถวายเป็นอามิสบูชา
2.     ขณะเดินขึ้นไปสักการะ หากเป็นไปได้ให้ภาวนา พุทโธ หรือบทห้องพุทธคุณ(อิติปิโสฯ) หรือพระคาถาที่ถนัดไปจนตลอดทาง
3.     เมื่อถึงยอดเขาแล้วให้หาที่สงบ(ไม่จำเป็นต้องทำที่ลานพระพุทธบาท)ตั้งจิตตั้งใจกราบไหว้นมัสการพระพุทธเจ้า กล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย และสวดมนต์ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุง มหากาฯ
4.     เมื่อเสร็จแล้วให้ทำปฏิบัติจิตภาวนานั่งสมาธิดูลมหายใจ สำรวมกายใจเป็นเวลาสักครู่(จะกี่นาทีก็แล้วแต่สะดวก)
5.     ถวายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะเป็นอามิสบูชา และตั้งใจถวายการปฏิบัติทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนถึงการนั่งสมาธิเป็นปฏิบัติบูชาแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (เท่ากับเราได้บูชาพระพุทธเจ้าทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา) (ปฏิบัติบูชาเป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมากที่สุด)
6.     แผ่เมตตา อุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร เทวดาอารักษ์ ภุมเทวดา ญาติบรรพบุรุษทั้งหลาย และอธิฐาน แผ่เมตตาให้ตัวเอง
7.     กราบลาพระ เดินชมวิว บรรยากาศ
8.     แวะถ้ำปู่ฤาษี อุทิศบุญกุศลให้ปู่ฤาษีผู้เป็นผู้ปกปักรักษารอยพระบาท และอธิฐานให้ปู่ฤาษีเมตตา
9.     เดินทางกลับอย่างปลอดภัย


ก็หวังแต่เพียงว่า จะมีผู้ที่ได้อ่านบทความนี้แล้วปรับทัศนคติตนเอง และตั้งใจปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่หลงไปตามความเชื่อความงมงาย คำลวงที่ว่าเป็นธรรมเนียม เป็นประเพณีดั้งเดิมของการสักการะบูชารอยพระบาท

ขอให้ทุกคนที่ได้อ่านได้ปฏิบัติตามมีความเจริญขึ้นทั้งทางโลกทางธรรม มีปัญญาและกำลังที่จะตัดความโลภโกรธหลง ตัดความไม่รู้ให้สิ้นไป ด้วยเทอญ

สาธุ

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

หลากหลายรูปแบบของวิชามวยเส้าหลินเสี่ยวหงฉวน

เส้าหลิน เสี่ยวหงฉวน เป็นมวยพื้นฐานหนึ่งของวิชาเส้าหลิน เรียกได้ว่าเป็นแม่บทของมวยเส้าหลินก็ว่าได้ หากใครต้องการจะฝึกมวยเส้าหลิน โดยเฉพาะมวยเส้าหลินเหนือ ต้องผ่านมวยเสี่ยวหงก่อนเสมอ

แต่ปัจจุบันอาจจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายเวอร์ชั่นเหลือเกิน ไม่รู้ว่าแบบไหนเป็นต้นตำรับ ขนาดในวัดเส้าหลินเอง อาจารย์มวยที่เป็นพระสงฆ์เองก็มีหลายรูปที่รำไม่เหมือนกันในรายละเอียดปลีกย่อย

ส่วนตัวผู้เขียนเองเคยเรียนมาเป็นแบบที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในวัดเส้าหลินเหนือ อย่างในคลิปด้านล่างนี้จะเห็นใกล้เคียงที่สุดกับที่เคยเรียนมาแล้ว




ในคลิปนี้สาธิตโดย พระสงฆ์ซื่อหย่งจื้อ ผู้สอนมวยเจ็ดดาวให้กับหลิวเต๋อหัว เพื่อใช้ในการแสดงหนังเรื่องเส้าหลิน



--------------------------------------------------

ในคลิปนี้สอนโดย หูเจิ้งเซิง และสาธิตโดยศิษย์ของหูเจิ้งเซิง

นี่ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนกันในรายละเอียด



ฮายาชิ-ฮา ชิโตริว

เจ้าสำนักฮายาชิ-ฮา เจ้าสำนัก ฮายาชิ-ฮา ฮายาชิ เทรุโอะ
ในคลิปนี้จะเห็นว่ามีการสาธิตต่างๆมากมาย แต่สิ่งที่อยากจะให้ดูและศึกษาก็คือ เซเอนจิน แต่เดิมนั้น สำนักนี้มีการวางมือในท่าเริ่มคล้ายกับโกจูริวมาก คือมือวางในช่วงตัว หรือบริเวณกระดูกเชิงกราน แต่ต่างกันเพียงเป็นการแทง โกจูริวเป็นการป้องด้วย เทนโชอุเกะ(หรืออาเตะ) แต่ในท้ายๆคลิบนั้น จะเปลี่ยนการวางมือเป็นแบบกางออก เนื่องจากปัญหาเรื่องการแข่งขัน เพราะสมัยรนั้นกำหนดให้ ชิโตริวเซเอนจิน เป็นท่าบังคับ หรือชิเตกาต้า ดังนั้นผู้แข่งขันจากสำนักชิโตริว ไม่ว่าจะมาจากสำนักไหนก็ตาม ต้องใช้ท่าเซเอนจินแบบชิเตกาต้า ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ดังนั้นกาต้าบางท่าที่กำหนดให้เป็นชิเตกาต้านั้น หลายสำนักจึงต้องเปลี่ยนตาม ซึ่งชิเตกาต้าชิโตริวนั้นมี บัสไซได และเซเอนจิน


เจ้าสำนักฮายาชิ-ฮา เจ้าสำนัก ฮายาชิ-ฮา ฮายาชิ เทรุโอะ สาธิต เซเอนจิน



------------------------------------
เจ้าสำนัก ฮายาชิ-ฮา ฮายาชิ เทรุโอะ สาธิตวิชาโคบุโด สำนักเคนชินริว
(โคบุโด มักจะใช้เรียกวิชาอาวุธในเกาะโอกินาว่า)
----------------------
เปรียบเทียบ กาต้าอันนัน ระหว่างศิษย์อาจารย์ เทรุโอะ ฮายาชิ ผู้เป็นอาจารย์ และ อิโนะอุเอะ โยชิมิ เจ้าสำนักอิโนะอุเอะ-ฮา ชิโตริว ผู้เป็นลูกศิษย์ของฮายาชิ




เปรียบเทียบกับต้นตำรับกาต้า อันนัน จากสำนักริวเอริว สาธิตโดย ซาคุโมโต ซึกุโอะ

ดูกันชัดๆจากอดีตแชมป์ ฮาเซกาว่า ยุกิมิทสึ คนนี้แต่เดิมเป็นชิโตริว แต่เนื่องจากต้องการใช้ท่าอันนันในการแข่งขัน จึงไปศึกษาสายริวเอริวเพิ่มเติม คลิปนี้เจ้าตัวเป็นคนพูดเองว่า ที่รำอยู่นั้นเป็นของสำนัก ริวเอริว









ฟุจิโมโต ซาดาฮารุ แห่ง โชบุไกโชรินริว

Shobukai Shorin Ryu Karate สาธิตโดย ฟุจิโมโต ซาดาฮารุ อาจารย์ใหญ่แห่ง International Karate-do Shobukai และ Itosu-Kai Karate อีกทั้งยังเป็นโค๊ชทีมชาติญี่ปุ่นในสาย ชิโตริวอีกด้วย

หลายคนอาจจะไม่ค่อยเข้าใจว่า JKF ไม่มีสำนักโชรินริว แล้วทำไม ถึงมีอาจารย์จากสายโชรินริว มาเป็นโค๊ชให้กับชิโตริวได้

ต้องอย่าลืมว่า แต่เดิม ชิโตริว หรือโชโตกันนั้น ก็คือโชรินริวนั่นเอง โดยโชโตกันนั้นพัฒนารูปแบบให้เป็นเอกลักษณ์จนมีความแตกต่างจนเห็นได้ชัด

แต่ชิโตริวนั้นยังคงความเป็นชูริเต้ หรือโชรินริวเอาไว้อยู่มาก เพียงแต่ชิโตริวนั้นเพิ่มวิชาสายนาฮาเต้(หรือโกจูริว)เข้าไปด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จะมีอาจารย์หลายท่านที่มาจากโชรินริวสำนักต่างๆได้เข้ามาเผยแพร่คาราเต้ในนามของชิโตริว

จึงอาจจะเห็นได้ว่า ชิโตริวนั้นมีสำนักแยกย่อยมากมาย รวมถึงโดโจต่างๆที่มีท่ารำกาต้าไม่เหมือนกัน มีจำนวนกาต้าไม่เท่ากัน นั่นเพราะอาจารย์เหล่านั้นมาจากโชรินริวที่ต่างสำนัก มาจากชิโตริวที่ต่างเวลา คือเรียนกับอาจารย์มาคนละช่วงเวลา ทำให้วิชาที่ได้ไปนั้นไม่เหมือนกันนั่นเอง

--------------------

ในคลิปนี้ สาธิตถึงวิธีการฝึก มากิวาร่า ทาเมชิวาร่า ยาคุโซกุคุมิเต้ กาตะ บุนไกกาตะ และอื่นๆ

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

Ichikawa-Ha Goju_Ryu Karate หรือ Seito Goju-Ryu

Ichikawa-Ha Goju_Ryu Karate หรือ Seito Goju-Ryu

สำนักนี้เป็นสำนักที่ก่อตั้งโดย อิชิกาว่า โซซุย หนึ่งในลูกศิษย์สายของ มิยากิ โชจุน ซึ่งตัวอาจารย์โซซุยนั้น ได้เรียนกับ มิยากิ โชจุนผู้ก่อตั้งโกจูริว - เซโกะ ฮิกะ(ศิษย์ของ คันเรียว ฮิกาอนนะ และมิยากิ โชจุน) - อิซุมิกาว่า คันกิ(ศิษย์ของเซโก ฮิกะ)

ซึ่งปรกติของชาวโอกินาว่าคาราเต้นั้น การฝึกฝนคาราเต้ถึงแม้ว่าจะแบ่งโรงฝึก แยกสำนักออกไปกันมากมาย แต่ก็ยังกลับมาแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นประจำ ดังนั้นอาจจะเรียกได้ว่าทันฝึกกับตัวเจ้าสำนักมิยากิ โชจุน ก็เป็นได้ แต่หากนับตามลำดับรุ่นแล้ว อาจารย์โซซุยนั้นถือว่าเป็นรุ่นที่สามซึ่งห่างจากเจ้าสำนักพอควรเลยทีเดียว

คลิป อาจารย์โซซุย สาธิต ซุปารินเป
คลิปบางส่วนของการ สาธิตคาราเต้โกจูริว ในรายการของญี่ปุ่น
(ดูคลิปนี้แล้วนึกถึงอาจารย์ของผมเลย รู้เลยว่านิสัยของอาจารย์ได้รับสืบทอดมาจากใคร รูปแบบการพูดการออกท่าทาง การแต่งตัวเหมือนกับเปี๊ยบ)



คลิปสาธิตท่ารำกาต้า ชิโซจิน เซซัน เซเอนจิน ซุปารินเป(อ.โซซุย)



ชิโซจิน โดย ทาดาฮิโกะ โอทสึกะ (ศิษย์ของ อ.โซซุย)



บุนไกกาต้าต่างๆ โดย ทาดาฮิโกะ โอทสึกะ




คลิปการสอนของ ทาดาฮิโกะ โอทสึกะ
(ในคลิปจะมีท่าของโชรินริวด้วย เนื่องจาก ทาดาฮิโกะ เป็นศิษย์สายโชรินริวด้วย)
(ในท้ายคลิปจะมีท่า ซุปารินเป)




------------------------------

เนื่องจากผู้เขียน ได้เรียนกับอาจารย์(ขอสงวนนาม) เป็นเวลาไม่นานมากนัก อาจารย์ท่านจึงสอนแต่บุนไกต่างๆของท่ารำกาต้าให้ เนื่องจากผู้เขียนนั้นมีความรู้คาราเต้สำนักโกจูริวอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะเป็นคนละสายสำนักกัน แต่ก็ถือว่าเป็นโกจูริวเหมือนกัน โดยอาจารย์ท่านสอนการส่งแรง การใช้ท่า และบุนไกต่างๆให้ ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่สามารถที่จะรำกาต้าแบบสายอิจิคาว่าได้ เนื่องจากอาจารย์ท่านไม่ได้สอน แต่ท่านเคยสาธิตท่า เซเอนจิน และเซซัน ให้ดูก็เป็นอย่างในคลิปที่ได้แปะไว้ให้ดูข้างบนนี้ แต่จะต่างกันเล็กน้อย

------------------------------

八歩連 ฮัปโปเรน ปาปุเรน ปาปู้เหลียน โดย โทชิโอะ โมริตะ ศิษย์ของ ทาดาฮิโกะ 






5กาต้าพิเศษ เมบุกัน โกจูริวคาราเต้


ซีรี่ย์ท่ารำกาต้าของสำนักเมบุกันโกจูริวคาราเต้ เป็นกาต้าที่บัญญัติขึ้นโดย เมโตกุ ยากิ เจ้าสำนักเมบุกันคนแรก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ มิยากิ โชจุน ผู้ก่อตั้งสำนักคาราเต้โกจูริว


โดยกาต้าที่เพิ่มเข้ามาในระบบของเมบุกันนั้น จะเพิ่มเข้ามา 5 ท่า คือ เทนจิ หมายถึงฟ้าดิน และอีก4ท่าเป็นสัตว์เทพศักดิ์สิทธิ์ตามคติของจีนญี่ปุ่นได้แก่ เปี๊ยกโกะ ซุซากุ เกนบุ และเซริว เทนจิกาต้า โดยอากิฮิโร่ ยากิ(ลูกชายของเมทัทสุ ยากิ)
เทนจิกาต้า โดยเมเท็ตสึ ยากิ ลูกชายเจ้าสำนักเมโตกุ ยากิ

เกนบุ โดยเมทัทสุ ยากิ(ลูกชายของ เมโตกุ ยากิ)
เปี๊ยกโกะ โดยนักกีฬาคาราเต้ แข่งขันภายในสำนักเมบุกัน

ซุซากุ(ซุจากุ) โดย Hanshi Ken Tallack 


--------------------- สารคดีบางตอนเกี่ยวกับคาราเต้โกจูริวสำนักเมบุกัน โดย เมโตกุ ยากิ-เมทัทสุ ยากิ-เมเท็ตสึ ยากิ


เซเอนจิน โดย เมเท็ตสึ ยากิ

เซไป โดยเจ้าสำนักคนแรก เมโตกุ ยากิ ลูกศิษย์ของโชจุน มิยากิ ผู้ก่อตั้งโกจูริว