หลายคนที่ฝึกคาราเต้คงจะคุ้นเคยกับชื่อสำนักคาราเต้ในปัจจุบันว่ามี4 สำนักใหญ่ คือ Shotokan-Ryu Shito-ryu Goju-Ryu Wado_ryu เป็นต้น
ซึ่งสี่สำนักนี้สามารถพบได้ทั่วไปในการแข่งขันกีฬาคาราเต้
แต่ในชื่อของ โชโตกันนั้น ยังมีคำว่า โชโตไก และโชโตไก นี้คืออะไร
แต่ในชื่อของ โชโตกันนั้น ยังมีคำว่า โชโตไก และโชโตไก นี้คืออะไร
Shotokai โชโตไก
เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการของ Dai Nihon Karate-do Kenkyukai ซึ่งเป็นสมาคมที่ดำเนินการสอนคาราเต้มาแต่ดั้งเดิมของ
Funakoshi Gichin ตั้งแต่ปี 1930 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Dai Nihon Karate-do Shotokai ในปี 1936 ชื่อ Shotokan เป็นเพียงชื่อโรงฝึกหรือโดโจ
ของสมาคมนี้เท่านั้น และเรียกติดปากกันต่อๆมาว่า Shotokan-Ryu
และต่อมาได้กลายมาเป็น Japan Karate Association
ในขณะที่เซนเซ Gichin Funakoshi ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านมักพูดเสมอว่า
คาราเต้ไม่ใช่กีฬา แต่เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
การทำให้คาราเต้เป็นกีฬานั้นจะทำให้คุณค่าของคาราเต้เสื่อมลง
และคาราเต้นั้นอันตรายหากพลาดพลั้งกันขึ้นอาจทำให้เกิดบาดเจ็บสาหัส และการสูญเสียชีวิตในการแข่งขันได้
ดังนั้นในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ โชโตกันจึงไม่มีการแข่งขันใดๆ
ต่อมาเมื้อสิ้น เซนเซ Funakoshi
Gichin ไปแล้ว ได้เกิดการแบ่งฝ่ายกันออกไป โดย Shigeru Egami ได้ยืนกรานคำสอนของอาจารย์ตนว่า
ไม่ให้มีการแข่งขัน จึงแยกตัวออกจาก Japan Karate Association และสอนคาราเต้ตามแนวทางเดิม
และเรียกตนว่าเป็น Shotokai ดังเดิม
ส่วนทาง Masatoshi Nakayama ก็ยังยืนยันตามเจตนาของตนที่อยากจะพัฒนาคาราเต้ให้สามารถเป็นกีฬาได้ โดยที่ยังคงความเป็นคาราเต้เอาไว้อยู่ให้ได้มากที่สุด ไม่ให้คุณค่าของคาราเต้หายไปอย่างที่อาจารย์ของตนได้เคยกล่าวเตือนไว้ ที่นากะยาม่ามีความคิดเช่นนี้เพราะท่านเองได้ศึกษาภาษาจีน และได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ต่างๆในประเทศจีนเช่น มวยจีน ซึ่งท่านอยู่จีนนานถึง9ปี และพยายามนำความรู้ที่ได้มานั้นผสมผสานกับวิทยาศาสตร์การกีฬาและคาราเต้ จนคาราเต้โชโตกันพัฒนาอย่างเป็นระบบจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบการสอนของโชโตกันนั้นนับว่าเป็นเอกลักษณ์เป็นขั้นตอนมาก
ส่วนทาง Masatoshi Nakayama ก็ยังยืนยันตามเจตนาของตนที่อยากจะพัฒนาคาราเต้ให้สามารถเป็นกีฬาได้ โดยที่ยังคงความเป็นคาราเต้เอาไว้อยู่ให้ได้มากที่สุด ไม่ให้คุณค่าของคาราเต้หายไปอย่างที่อาจารย์ของตนได้เคยกล่าวเตือนไว้ ที่นากะยาม่ามีความคิดเช่นนี้เพราะท่านเองได้ศึกษาภาษาจีน และได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ต่างๆในประเทศจีนเช่น มวยจีน ซึ่งท่านอยู่จีนนานถึง9ปี และพยายามนำความรู้ที่ได้มานั้นผสมผสานกับวิทยาศาสตร์การกีฬาและคาราเต้ จนคาราเต้โชโตกันพัฒนาอย่างเป็นระบบจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบการสอนของโชโตกันนั้นนับว่าเป็นเอกลักษณ์เป็นขั้นตอนมาก
เทคนิคของโชโตไก นั้น จะแตกต่างจากโชโตกันมากอยู่ในเรื่องของการใช้แรง โชโตกันจะให้ความสำคัญกับรูปแบบท่วงท่าจากภายนอก(ท่วงท่ากล้ามเนื้อ)สู่ภายใน(แรง) แต่โชโตไก จะให้ความสำคัญจาก ภายใน(แรง)สู่ภายนอก(กล้ามเนื้อท่วงท่า)
ดังนั้น
โชโตกันจึงเน้นฝึกท่วงท่าจนพัฒนาท่วงท่าไปต่างๆนานา
สามารถฝึกจนพัฒนาท่วงท่าให้สามารถใช้แรงน้อยก่อเกิดเป็นแรงมหาศาลในการโจตีป้องกันได้
หรือที่เรียกในภาษาคาราเต้ว่า Kime ซึ่งคิเมะ
แปลว่าการรวมของพลังซึ่งพลังนั้นเกิดจากแรงกล้ามเนื้อภายนอก รวมกับการหายใจ
การบิดหมุนการส่งแรงจากทั่วทั้งร่างกาย และสมาธิจิตในการตั้งมั่น
แต่โชโตไก
จะเน้นเรื่องแรง ดังนั้จะเน้นพัฒนาเรื่องแรงจากภายใน ไม่สนใจเรื่องท่วงท่าภายนอก
หรือแม้แต่กล้ามเนื้อ การใช้ท่วงท่าของคาราเต้แบบโชโตไก จึงไม่มีคำว่า Kime ดังจะเห็นได้จากการฝึกพื้นฐานและกาต้า
การเคลื่อนไหวจะไม่มีจุดหยุดของแรง
โชโตไกนั้นจะเน้นคาราเต้แบบดั้งเดิมคือ
เน้นการต่อสู้ด้วยมือเท้าเข่าศอกไหล่กระแทก ตามพื้นฐานทั่วไปของคาราเต้
เน้นการหักล๊อคจับทุ่มตามความหมายท่ารำกาต้า หากมองเผินๆจะเป็นคาราเต้ท่าย้วยๆที่ต่อสู้เหมือนไอคิโดฝึกรันโดริ
การฝึกพื้นฐานของคาราเต้แต่เดิมนั้น เป็นการส่งแรงของร่างกายผ่านฝ่าเท้า
ข้อเท้า เข่า เชิงกราน สะโพก หลัง ไหล่ ศอก แขน หมัด
ดังนั้นเมื่อเคลื่อนไหวถึงจุดที่แขนขายืดเหยียดออกไปสุดแล้ว ท่าก็จะหยุดเมื่อนั้น
หรือมีการกำหนดหยุดในระยะจังหวะต่างๆ ตามท่วงท่าตามแรงส่งที่โคจรในร่างกาย
จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า Kime ในคาราเต้ทุกๆสาย
ทุกๆสำนักจะมีสิ่งนี้เหมือนกันหมด เพียงแต่ว่าอาจจะเรียกไม่เหมือนกัน
ที่เรียกกันทั่วไปในโอกินาว่าคือ Chinkuchi สำนักที่เรียก Kime สำนักแรกก็อาจจะเป็นโชโตกันนี่เอง
เนื่องจากโชโตกันเป็นรูปแบบแรกที่ออกจากโอกินาว่ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ และโดยทั่วไปก็มักจะเป็นการฝึกจากภายนอกคือเน้นเรื่องท่วงท่าและพัฒนากล้ามเนื้อเป็นหลัก
เพราะสอนในฐานะที่เป็นศิลปะเพื่อสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง เนื่องจากสมัยแพ้สงคราม
ญี่ปุ่นถูกสั่งห้ามฝึกศิลปะการต่อสู้ แต่คาราเต้สามารถสอนได้เนื่องจากแอบอ้างว่าเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพเหมือนดั่งการรำไท่จี๋(ไทเก็ก)
ดังนั้นการฝึกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อท่วงท่า
จึงพัฒนาพร้อมกับรูปแบบของการใช้แรงแบบโชโตกันที่เรียกว่า Kime คนทั่วไปจึงคิดเข้าใจผิดไปว่า Kime นั้นต้องใช้แรงกล้ามเนื้อมาก
ต้องเกร็งกล้ามเนื้อในการหยุดหมัดหยุดการโจมตี
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดกันมาตลอด ย้ำอีกครั้งว่า
“Kime คือการส่งแรงออกไปตามท่วงท่า จนมันสุดระยะของแขนขา
เหมือนสุดแล้วท่าก็จะนิ่งเอง ไม่ใช่การเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อหยุดท่าให้นิ่งตามรูปแบบของนักกีฬาคาราเต้ปัจจุบัน”
โชโตไก
เน้นเรื่องแรงมากกว่า ดังนั้นจึงไม่ให้ความสำคัญกับท่าทางมากนัก
และยิ่งเป็นเรื่องกล้ามเนื้อ ยิ่งไม่ให้ความสำคัญ เพราะกล้ามเนื้อจะไปทำให้การใช้แรงในบางท่าเกิดการติดขัดได้ง่าย
หากไม่มีความเข้าใจในร่างกายอย่างแท้จริง
สิ่งที่เป็นประเด็นในเรื่องนี้
อาจจะเกี่ยวโยงได้ในทัศนคติของ มวยไท่จี๋ และไอคิโด ในสมัยนั้น มีอาจารย์ไท่จี๋ตระกูลหยัง
ชื่อ หยังหมิงสือ 楊名时 ได้เข้ามาฝึกคาราเต้โชโตกัน
โดยปกปิดฝีมือตัวเองไว้
จนฝึกได้ถึงระดับสายดำขั้น6ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้ฝึกสอนระดับสูงของคาราเต้
ซึ่งในขณะนั้นอาจารย์คาราเต้โชโตกันก็ได้แลกเปลี่ยนวิชากัน ในวิชาไท่จี๋หรือไทเก็กนั้น
จะมีลักษณะไม่เกร็งกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายให้แรงถูกส่งออกไปอย่างไม่มีสิ้นสุด
ไม่ติดขัดด้วยกำลังของกล้ามเนื้อ
และเซนเซ Shioda
Gozo ปรมาจารย์ไอคิโดสำนัก Yoshinkan ลูกศิษย์ของผู้ก่อตั้งไอคิโด
Morihei Ueshiba ในสมัยนั้น เซนเซชิโอดะได้เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยทาคุโซคุเมืองโตเกียว
และมีความสัมพันธ์อันดีกับชมรมคาราเต้โชโตกันที่มหาวิทยาลัยนั้น(มหาวิทยาลัยของโอมูระเซนเซ
เรื่องเซนเซชิโอดะนี้เซนเซโอมูระเป็นผู้เล่าให้ฟังด้วยตนเอง) เซนเซชิโอดะกล่าวว่า “จริงๆแล้วการโจมตีที่ดีไม่ควรจะมีจุดสิ้นสุดของแรง
มันควรจะเป็นพลังแบบที่ไหลออกไปไม่มีวันสิ้นสุด เป็นพลังที่ปะทะโดนคู่ต่อสู้เมื่อไหร่ก็ทะลุผ่านออกไปเลยไม่ควรมาหยุดอยู่แค่จังหวะสิ้นสุดของแขนขา
ซึ่งมองจุดนี้แล้ว คาราเต้ก็น่าจะเป็นในลักษณะนี้เหมือนกัน”
จากจุดที่อาจารย์ทั้งสองให้แนวคิดมานี้
อาจจะเป็นจุดที่ทำให้ทางสายของโชโตไก
เน้นพัฒนาเรื่องแรงมากขึ้นจนท่วงท่าคาราเต้เริ่มหมด kime ไปอย่างที่เห็นในคลิปวีดีโอ ซึ่งยังมีควาแตกต่างจากตัว
Gichin Funakoshi อยู่มากนัก
(สาธิตโดย Mitsusuke Harada ลูกศิษย์ของ ฟุนาโคชิ กิชิน และเอกามิ ชิเกรุ)
(เหล่าศิษย์ของฟุนาโคชิ กิชิน จากมหาวิทยาลัยเคโอ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังคงความเป็นโชโตกันเดิมๆ ไม่ได้เปลี่ยนท่าตาม JKA หรือ Shotokai )
(Tetsuji Murakami อาจารย์คนสำคัญอีกท่านของโชโตไก ศิษย์ของกิชิน ฟุนาโคชิ จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะแยกตัวออกมา สมัยที่ท่านหนุ่มๆซ้อมที่ JKA ท่วงท่าก็ยังเป็นแบบโชโตกันอยู่ แต่พอต่อมาแยกตัวเป็น โชโตไกแล้ว ท่วงท่าจะเปลี่ยนไป) (ในคลิปมีช่วงที่ซ้อมต่อสู้ และถ่ายรูปกันที่หน้า JKA)
เปรียบเทียบกาต้าเทคกิโชดัน สี่แบบแบบโชรินริว แบบฟุนาโคชิ กิชิน แบบโชโตไก และแบบโชโตกัน จะเห็นพัฒนาการ
( Naihanchi Shodan สำนัก Seibukan Shorin-Ryu โดย เจ้าสำนักZenpo Shimabukuro)
(Seibukan Shorin-Ryu or SukunaiHayashi-Ryu)
(Tekki Shodan โดย Funakoshi Gichin ผู้ก่อนตั้งโชโตกันริว)
(Tekki Shodan โดย Shotokai)
(Tekki Shodan โดย Naka Tatsuya สำนัก Shotokan JKA)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น