วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

คาราเต้ และมวยจีน

คาราเต้ และมวยจีน
ความเป็นมวยจีนที่ยังหลงเหลืออยู่ในวิชาคาราเต้ปัจจุบัน โดยเฉพาะมวยสายเส้าหลินใต้(南少林拳)คงหลีกหนีไม่พ้นเอกลักษณ์ของมวยเส้าหลินใต้ ซึ่งก็คือท่ายืน ท่ายืนหนีบแกะ หรือท่ายืนอักขระเลขแปด” (骑羊步ฉีหยังปู้ ขี่เอี๊ยโป่ว หรือ 八字步ปาจื้อปู้ โป๊ยหยี่โป่ว) ที่คาราเต้รับเข้ามาเป็นท่ายืนพื้นฐานในการฝึกโดยเฉพาะในคาราเต้สายนาฮาเต้(那覇手) เช่นสำนัก โกจูริว(剛柔流)ริวเอริว(劉衛流)อุเอจิริว(上地流) และชิโตริว(糸東流)รวมถึงคาราเต้ในสายของชูริเต้(首里手)ด้วยเช่นสำนัก โชโตกันริว(松濤館流)วาโดริว(和道流)โชรินริว(小林流 โคบายาชิโชรินริว และ松林小林流มัทสุมุระโชรินริวโชรินริว(昭林流)เป็นต้น

ปล. วัดเส้าหลินในประเทศจีนมีอยู่สามแห่ง โดยวัดที่มีความโดดเด่นทางด้านหมัดมวยจะมีอยู่สองที่คือ วัดเส้าหลินที่ภูเขาซงซัน เหอหนัน(河南嵩山少林寺) เรียกว่าเส้าหลินเหนือ(北少林) และวัดเส้าหลินที่เขตฉวนโจว เมืองฟุเจี้ยน(ฮกเกี้ยน)(福建泉州南少林寺) เรียกว่า เส้าหลินใต้(南少林) โดยวิชาหมัดมวยในแถบภาคใต้ของจีนจะได้รับอิทธิพลมาจากวิชาของเส้าหลินใต้เกือบทั้งหมด เรียกรวมๆว่า หนันเฉวียน(南拳) หรือ หนันเส้าหลินเฉวียน(南少林拳)

ท่ายืน(立ち)
โดยคาราเต้ท่ายืนหนีบแกะจะมีดังนี้ อุจิฮาชิจิดาจิ(内八字立ち)ซันชินดาจิ(三戦立ち) เซชันดาจิ(十三立ち)และฮันเกทสึดาจิ(半月立ち)ซึ่งท่ายืนเหล่านี้ดัดแปลงมาจากการยืนหนีบแกะในมวยจีน จะมีลักษณะหันปลายเท้าข้อสู่ด้านในเพื่อใช้กล้ามเนื้อด้านในขา และกล้ามเนื้อหลังขาล๊อคสะโพกให้ตรง เพื่อรักษาสมดุลย์ให้มั่นคง อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเตะฝ่าหมากอีกวิธีหนึ่งด้วย
ไม่เพียงแต่ในมวยสายฮกเกี้ยนเท่านั้นที่มีท่าหนีบแกะ ทางมวยสายนักพรตเต๋าบางสายของจีน (โดยเฉพาะท่าในชุดฝึกชี่กงของเต๋าบางสำนัก) จะมีท่ายืนหนีบด้วย แต่ไม่เรียกว่า หนีบแกะ แต่เรียกว่า หนีบกระเรียน หรือนั่งกระเรียน(骑鹤步ฉีเฮ่อปู้ เพราะนักพรตเต๋าขี่กระเรียนขึ้นสวรรค์ ในชุดฝึกมวย หรือชี่กงของเต๋า ก็จะมีท่าเหล่านี้อยู่



โคเทะคิทาเอะ(小手鍛え)
ในคาราเต้จะแบ่งการฝึกออกเป็นสามรูปแบบหลักๆ คือการฝึกคิฮน(基本พื้นฐานคาตะ(型ท่ารำ และคุมิเตะ(組み手การฝึกต่อสู้ในการฝึกพื้นฐานนั้นสิ่งที่ยังคงแบบฉบับของมวยเส้าหลินใต้ก็คือ โคเทะคิทาเอะ(小手鍛え)ซึ่งเป็นชุดฝึกพื้นฐานมวยเส้าหลินใต้ โดยการจับคู่สองคนใช้ข้อมือท่อนแขนเหวี่ยงเป็นวงกลมกระแทกกันในท่าต่างๆเรียกว่า ตุ้ยเลี่ยน(对练) ซึ่งคาราเต้ได้นำท่วงท่าต่างๆในการฝึกนี้มาเป็นพื้นฐานในการปัดป้องสี่ท่าพื้นฐาน แทนการปัดป้องต่างๆที่มีมากมายในมวยจีน โดยสี่ท่าพื้นฐานมีดังนี้ โจดันอาเกอุเกะ(上段上げ受け)ชูดันโซโตอุเกะ(中段外受け)ชูดันอุจิอุเกะ(中段内受け) และเกดันบาราย(下段払い)
แต่ในสำนักสายที่ไม่มีการดัดแปลงท่าปัดป้อง ท่วงท่าการปัดก็จะไม่เหมือนคาราเต้สำนักทั่วไป กล่าวคือไม่มีการปัดป้องพื้นฐานสี่ท่าที่สำนักอื่นๆมี แต่การปัดป้องจะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของมวยต้นกำเนิดนั้นๆ เช่น สำนักอุเอจิริว ซึ่งตามประวัติกล่าวว่ามาจาก มวยอู๋จู่เฉวียน หู่เฉวียนมวยเสือ(虎拳)เฮ่อเฉวียนมวยกระเรียน และหลงเฉวียนมวยมังกร(龙拳)ของฮกเกี้ยน การปัดป้องทั้งหมด จะเป็นการวาดวงกลมเป็นหลัก และเน้นที่การใช้ ง่ามนิ้ว ข้อมือ ฝ่ามือกระแทก และการคว้าจับ
ท่ารำคาตะ(型)
สิ่งที่เป็นการบ่งบอกว่าคาราเต้นั้นคือมวยเส้าหลินใต้ได้ดีที่สุดนั่นคือ ท่ารำคาตะของคาราเต้ จะเห็นได้จาก คาตะต่างๆดังนี้
ซันจิน(三戦) ในสำนักฝ่ายนาฮาเต้ เช่น โกจูริว ชิโตริว ริวเอริว อุเอจิริว ซึ่งเป็นมวยเส้นชุดหนึ่งของมวยเส้าหลินใต้เรียกว่า ซันจั้น(三战)มวยชุดซันจั้นจะมีฝึกกันเฉพาะในมวยอู๋จู่เฉวียน(五祖拳มวยห้าบรรพบุรุษ ประกอบไปด้วยมวยไท่จู่ไท่จู่เฉวียน太祖拳 มวยกระเรียนเฮ่อเฉวียน鹤拳 มวยลิงโฮวเฉวียน猴拳 มวยอรหันต์หลอฮั่นเฉวียน罗汉拳 และมวยตักม๊อต๋าหมัวเฉวียน达尊拳)ไป๋เฮ่อเฉวียน(白鹤拳) หมิงเฮ่อเฉวียน(鸣鹤拳) ซึ่งเป็นมวยสายฮกเกี้ยนเส้าหลินเท่านั้น
เทนโช(転掌) เทนโชเป็นท่าสำคัญที่สุดรองลงมาจากซันจินในสำนักโกจูริว และริวเอริว เป็นท่าที่ดัดแปลงมาจากมวยหมิงเฮ่อเฉวียนเป็นการใช้ฝ่ามือปัดป้องด้วยการวาดวงกลมไปมา เสมือนปีกนกกระเรียน ดังจะเห็นได้จากสำนักโกจูริว และริวเอริว ที่ผู้ก่อนตั้งทั้งสองคนได้ร่ำเรียนวิชาหมิงเฮ่อเฉวียนมาจากอาจารย์เดียวกันคือปรมาจารย์เซี่ยจงเสียง(谢宗祥)ผู้ก่อตั้งวิชาหมิงเฮ่อเฉวียน นอกจากเทนโชจะถูกดัดแปลงมาจากมวยหมิงเฮ่อแล้ว เทนโชยังมีความคล้ายคลึงกับมวยหย่งชุนในมวยเสี่ยวเนี่ยนโถว(小念头สิ่วหนิมเถ่าซึ่งเป็นมวยชุดเส้นที่หนึ่งของหย่งชุนอีกด้วย เนื่องจากมวยหมิงเฮ่อ และมวยหย่งชุนนั้นต่างมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง
เซชัน(十三)หรือฮันเกทสึ(半月)ในสำนักโชโตกันริว วาโดริว โชรินริว โมโทบุริว(本部流) หรือสำนักอื่นๆที่มาจากสายชูริเต้ จะมีคาตะเซชันที่เป็นการฝึกท่าหนีบแกะ และคงท่ามวยซันจั้นอยู่
ฮาคุซุรุ (白鶴)ในสำนักที่มาจากสายนาฮา และที่มาจากสายชูริเต้บางสำนัก ได้นำท่วงท่าจากมวยไป๋เฮ่อ ผสมกับมวยซันจั้น จนเป็นท่าคาตะกระเรียนขาวฮาคุซุรุ ท่ายืนใน ฮาคุซุรุ จะเป็นท่ายืน เนโกะอะชิดาจิ(猫足立ちหรือท่ายืนขาหน้าว่าง虚步ซวีปู้ และซุรุโนะดาจิ(鶴の立ちหรือท่ายืนขาเดียว独立步ตู๋ลี่ปู้เกือบทั้งหมด ท่วงท่าจะเป็นการใช้มือในรูปแบบของ โชเต้(掌手ฝ่ามือไฮชู(背手หลังมือนุคิเตะ(貫き手มือหอกไฮโต(背刀สันมือด้านในชูโต(手刀สันมือด้านนอกวาชิเดะ(鷲でปากไก่คาคุโต้(鶴頭หัวไก่เป็นหลัก และจะไม่มีการชก


คาคิเอะ(カキエ、掛け鍛えคะเคคิทาเอะหรือการผลักมือ พันมือ(推手ทุยโส่ว 黐手ชือโส่วหรือชี้เสา
การผลักมือเป็นเอกลักษณ์ในการฝึกทักษะการฟังแรง ประสาทสัมผัส ปฏิกริยาตอบสนองในการจัดสมดุลย์ และการเคลื่อนไหวเชิงมวยของมวยไท่เก็กคุ้ง(太极拳ไท่จี๋เฉวียนมวยฝ่ามือแปดทิศ(八卦掌ปากั้วจ่างและสายฮกเกี้ยนเช่นมวยหวิ่งชุนควิ่น(咏春拳หย่งชุนเฉวียนมวยอู๋จู่เฉวียนเป็นต้น คาราเต้สายที่ได้รับความเป็นมวยสายฮกเกี้ยนมายิ่งมากเท่าไหร่ การฝึกผลักมือก็ยิ่งหลงเหลืออยู่มากเท่านั้น จะเห็นได้จากสำนักโกจูริว ชิโตริว อุเอจิริว ริวเอริว ซึ่งมีระบบการฝึกผลักมือ แต่การผลักจะไม่ใช่การผลักมือแบบสิ่ทิศตรง สี่ทิศเฉียงเหมือนไท่เก็ก แต่จะเป็นลักษณะการหมุนมือ และในขั้นสูงจะมีการชก กระแทก คล้ายลักษณะการพันมือชือโส่วในหมัดหย่งชุนเสียมากกว่า


โคคิว(呼吸การหายใจ
ในคาราเต้ได้รับทฤษฎีเรื่องการหายใจด้วยท้องน้อย(丹田ตันเถียน ทันเด็นมาจากวิชามวยจีน แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของมวยสายฮกเกี้ยนเส้าหลินใต้ ที่ไม่มีในมวยเหนือนั่นคือ การออกเสียง และการผ่อนเกร็งช่วงท้อง เพื่อช่วยในเรื่องการบริหารอวัยวะภายใน และเค้นกำลังจากร่างกาย ซึ่งการหายใจในลักษณะนี้คาราเต้เรียกว่า อิบุกิ(息吹แปลว่าการพ่นลมหายใจจะมีอยู่ในเฉพาะสำนักโกจูริว และริวเอริว ซึ่งการอิบุกิ จะแบ่งออกเป็นสามลักษณะคือ
อินอิบุกิ(陰息吹)คือการหายใจแบบหยิน หรือแบบผ่อนคลายตามธรรมชาติหายใจเข้าออกช้ายาวลึก หายใจทั่วท้อง
โยอิบุกิ(陽息吹)คือการหายใจแบบหยัง หรือการใช้กล้ามเนื้อช่วยเกร็งบังคับในการไล่ลมออกจากท้อง เพื่อให้เลือดสูบฉีดมากขึ้น
ฮันอินโยอิบุกิ(半陰陽息吹)คือการหายใจแบบผสมผสานระหว่างอ่อนแข็งหยินหยังมีการผ่อนคลาย เกร็งกล้ามเนื้อ และกำลังในการหายใจ
ในขณะที่สำนักอื่นๆจะหายใจเป็นธรรมชาติตามการใช้แรงของกล้ามเนื้อ ให้ท่วงท่าการเคลื่อนไหวเป็นตัวกำหนดการหายใจว่าจะช้า เร็ว ยาว ลึก หรือระเบิดลมหายใจที่เรียกว่า คิไอ(気合)หรือเฮิงฮ่าในภาษาจีน(哼哈)การคิไอจะมีอยู่ในคาราเต้ทุกสำนัก เป็นการหายใจออกอย่างรวดเร็วผสานกับการใช้แรงจากร่างกายในการเคลื่อนไหวท่วงท่า โดยมีความเชื่อว่าการคิไอ จะสามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายในขณะที่ส่งแรง แรงกำลังที่ส่งออกไปไม่ติดขัดที่ร่างกาย และเสริมกำลังในการจู่โจมได้อีกด้วย ในการคิไอนั้น ยิ่งเสียงใสกังวานและดังก้อง โดยที่เสียงไม่สั่นออกมาจากลำคอ ยิ่งดังกังวานเท่าไหร่ ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของท้องน้อย ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมของร่างกาย ยิ่งท้องน้อยหรือตันเถียนแข็งแรงมากเท่าไหร่ ร่างกายเราก็จะแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น


ประวัติ
ในมวยสายชูริเต้ มีการอ้างถึง มวยสิงอี้เฉวียน(形意拳มวยเหนือสายเหอหนานว่าได้รับการฝึกจากอาจารย์สิงอี้ท่านหนึ่งชื่อ T'ung Gee Hsing (ไม่สามารถค้นหาชื่อในตัวอักษรภาษาจีน และการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องได้) ดังนั้นในสำนักสายชูริเต้ สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคือการพุ่ง ต่อย หมัดหน้า หรือหมัดหลัง แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่าง สิงอี้ และมวยสายชูริคือ การวางน้ำหนักขนะต่อยเสร็จสิ้น คาราเต้จะออกหมัดเมื่อตอนขาหลังส่งแรงเหยียดขาจนสุด พร้อมกับขาหน้าที่เหยียบลงพื้น สมดุลย์น้ำหนักตัวจะค่อนมาด้านหน้า แต่มวยสิงอี้จะวางขาหน้าก่อน จึงค่อยออกหมัดชกพร้อมกับขาหลังที่ตามมา สมดุลย์น้ำหนักตัวจะค่อนมาด้านหลัง แต่ในบางท่วงท่ามวยสิงอี้ และคาราเต้สายชูริเต้จะใช้การพุ่งชกในลักษณะเดียวกันเหมือนกัน ในเรื่องของรูปแบบการต่อสู้ การย่างก้าวที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง เข้าออกเดินหน้าถอยหลัง ฉากเบี่ยงซ้ายขวา ถือว่าเป็นเอกลักษณะของมวยสิงอี้เฉวียนที่ คาราเต้สายชูริเต้ รับเข้ามาโดยตรง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากท่ามวยของสิงอี้เฉวียน ชุดสิงอี้อู่สิงเหลียนหวน(形意五行连环หมัดสิงอี้ผสานห้าธาตุ


คาราเต้สายชูริจะถนัดพุ่งต่อย ต่อสู้ในระยะห่าง และระยะกลาง ในขณะที่ทางสายนาฮาจะถนัดรูปแบบการต่อสู้ในระยะประชิด และระยะกลาง เพราะการฝึกผลักมือ หรือพันมือเป็นการฝึกประสาทสัมผัสในการต่อสู้เมื่อคู่ต่อสู้จู่โจมในระยะประชิด
ต้นกำเนิดของคาราเต้สายนาฮากล่าวไว้ว่า ปรมาจารย์คันเรียว ฮิกาชิอนนะ(東恩納 寛量1853-1916 ได้เรียนมวยอรหันต์ของเส้าหลินใต้จากอาจารย์อาราคากิ เซโช(新垣 世璋1840 – 1918และได้เรียนมวยกระเรียนและมวยเส้าหลินใต้อื่นๆจาก อาจารย์เซี่ยจงเสียง(谢宗祥1852 - 1930
เนื่องจากสำเนียงการอ่านอักษรจีนที่ต่างกันของภาษาจีน ริวกิว และญี่ปุ่น การอ่านออกเสียง หรูหรูเกอ如如歌”(ญี่ปุ่นออกเสียงว่า ริวริวโก) ที่เป็นฉายาของท่านเซี่ยจงเสียง จึงเพี้ยนไปกลายเป็นแซ่หลิวชื่อหลง(刘龙)ผู้อาวุโสหลิวหลง(刘龙公)หลิวหลงเจียง(刘龙江)และพี่ชายหรูหรู(如如哥)เป็นต้น(ชื่อที่ภาษาญี่ปุ่นเพี้ยนไป อ่านว่า ริวริวโก เหมือนกันหมดทุกชื่อ)    

คุมิเตะ(組み手)รูปแบบการต่อสู้
แต่เดิมรูปแบบการต่อสู้ของคาราเต้ จะไม่ใช่รูปแบบการแข่งขันกีฬา(Sport Karate) หรือการชกกันบนเวที(Full contact) ที่สามารถรับชมการแข่งขันได้ตามอินเตอร์เน็ท หรือการต่อสู้ในภาพยนต์
ในการต่อสู้ของสายชูริเต้จะนำเอาลักษณะการสืบเท้าของต้นตำรับคือมวยสิงอี้มาใช้กล่าวคือ ปัดป้องจู่โจมเป็นจังหวะรับรุกต่อเนื่องด้วยการสืบเท้าเข้าออกถอยฉากเป็นเส้นตรงในทิศทางต่างๆ ในการถอยปัดนั้นจะถอยให้พ้นระยะจู่โจมในระยะที่พอดีไม่ห่างไปไม่ใกล้ไป ไม่ปักหลักยืนรอปัดป้อง และพุ่งต่อย
ในสายนาฮา จะเป็นลักษณะต่อสู้ระยะประชิดเน้นการปัดป้องอยู่กับที่เป็นหลัก หากจะถอย ก็ถอยเพียงนิดเดียว เน้นหลบหลีก ปัดป้องไม่ปะทะแรงตรงๆ และการปัดป้องพร้อมโจมตี การออกหมัดนิยมออกหมัดสั้น ปัดป้องจู่โจมผัวพันคู่ต่อสู้ในระยะประชิด หรือในระยะกลาง หากได้แตะต้องมือ หรือแขนของคู่ต่อสู้แล้ว จะไม่ปล่อยให้หลุดมือ จะฟังแรงควบคุมแขนของคู่ต่อสู้ไว้ไม่ให้คู่ต่อสู้ออกหมัดได้อย่างใจนึก ซึ่งการต่อสู้นี้คือผลลัพธ์จากการฝึกผลักมือคะคิเอะนี่เอง
ในรูปแบบการต่อสู้ของคาราเต้เชิงกีฬา การแข่งขันคาราเต้จะสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ แบบ Non-Contact และFull-Contact โดยการฝึกคาราเต้ในรูปแบบกีฬานี้เทคนิคต่างๆของคาราเต้ดั้งเดิมได้ถูกลดลงไปอย่างมาก เช่นการหักล๊อค การทุ่ม การแทงจุดตามร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หมัด นิ้ว และฝ่ามือชนิดต่างๆ เทคนิคเหล่านี้ปัจจุบันได้ถูกลืมเลือนหายไปจนเกือบหมดสิ้น จนกลายเป็นเสมือนตำนาน และภาพมายาของนักคาราเต้ก็ว่าได้
Non-Contact เป็นรูปแบบสากลที่ได้การรับรอง และบรรจุในกีฬาสากลระดับต่างๆ เช่น ซีเกมส์ เอเซี่ยนเกมส์ กีฬาแห่งชาติ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ โดยใช้กฏกติกาที่บัญญัติขึ้นโดย สมาคมสหพันธ์คาราเต้โลก(WKF: World Karate Federation) การจู่โจมจะทำได้เพียงการเตะ การต่อย การตบด้วยหลังหมัด การตบด้วยสันมือด้านใน ในระดับลำตัว หลัง และหน้า ด้วยการใช้ท่วงท่าที่ถูกต้องมีพลัง ความเร็ว ในระยะ และจังหวะที่ถูกต้อง โดยที่การจู่โจมจะต้องหยุดเมื่อถึงตัว หรือหยุดห่างจากคู่ต่อสู้ 3-5 เซนติเมตร เพื่อวัดทักษะทางด้านการควบคุมการโจมตี และลดการบาดเจ็บจากการปะทะ
Full-Contact เป็นรูปแบบการต่อสู้ของกีฬาคาราเต้ อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเกิดการแข่งขันรูปแบบนี้ถูกจัดขึ้นโดย อาจารย์โอยาม่า มัทซุทัสสุ(大山 倍達1923-1994 แห่งสำนักคาราเต้เคียวคุชินไก(極真会)การต่อสู้ลักษณะนี้ถูกคิดค้นบัญญัติ มาจากรูปแบบการต่อสู้ของตัวอาจารย์โอยาม่าเอง ซึ่งท่านเป็นคนรูปร่างใหญ่ ไม่เกรงกลัวการจู่โจมใดๆที่พุ่งเข้าหาตัวท่าน ท่านจึงนิยมในการยืนอยู่กับที่ และเดินเข้าหาคู่ต่อสู้เอง ด้วยความระมัดระวังเตรียมพร้อมที่จะปัดป้อง และจู่โจมกลับ แต่ในปัจจุบันนักคาราเต้สายเคียวคุชินนิยมที่จะเดินเข้าหาแลกหมัดประลองความแข็งแกร่งของหมัดเท้าและร่างกาย จนไม่เหลือการปัดป้อง มากกว่าที่จะประลองชั้นเชิงการปัดป้องจู่โจม อย่างที่อาจารย์โอยาม่าเป็นผู้ถ่ายทอด
นักคาราเต้บนเวที ที่อ้างว่าเป็นคาราเต้ บางคนไม่เคยฝึกคาราเต้จริงๆเลยในรูปแบบของ Full-Contact ปัจจุบัน ได้มีสำนักใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย เรียกตัวเองว่าเป็นคาราเต้ แต่ไม่มีการฝึกพื้นฐาน การฝึกท่ารำ มีแต่เพียงฝึกการต่อสู้ และไม่ใช่การต่อสู้ในรูปแบบคาราเต้ดั้งเดิม กลับกลายเป็นรูปแบบการต่อสู้Kick-Boxing มากกว่า ซึ่งจริงๆแล้วสำนักเหล่านี้ไม่ควรที่จะเรียกรูปแบบการฝึกว่าเป็นคาราเต้เลย

บุคิจิทสุ(武器術)อาวุธในวิชาคาราเต้
อาวุธหลักๆของคาราเต้ในโอกินาว่าจะมี
โบ
(棒พลองเอกุ(エクไม้พายไซ(釵สามง่ามทินเบโรจิน(チィンべー(楯)ローチン(短槍)โล่กระดองเต่า และหอกสั้นคามะ(鎌เคียวคุวะ(鍬จอบ คราดเทคโก้(鉄甲สนับเหล็กโฮกิ(箒ไม้กวาดทอนฟา หรือ ทุยฟา(トンファーไม้ศอกญี่ปุ่น ทำมาจากด้ามเครื่องโม่ถั่ว เอาไว้นวดข้าว กับโม่ถั่ว นุนจากุ(ヌンチャクกระบองสองท่อนซันเซ็ทสึคุน(三節棍พลองสามท่อนซุรุจิน(スルチンโซ่ลูกตุ้มเป็นต้น
ซึ่งอาวุธที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีอยู่ในมวยสายฮกเกี้ยนหมดเลย
 แต่ในปัจจุบันคาราเต้ที่แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นจะต่างจากโอกินาว่าตรงที่ ไม่ได้รับการฝึกอาวุธเหล่านี้ เนื่องจากได้เปลี่ยนทัศนคติในเรื่องการต่อสู้ให้เป็นการต่อสู้มือเปล่า ปราศจากอาวุธไปแล้ว จึงมีการฝึกอาวุธน้อยลง จนบางสำนักไม่หลงเหลือวิชาอาวุธอีกเลย

ความแตกต่างเรื่องการใช้เอวของสำนักโชโตกัน และสำนักอื่นๆ
ในสำนักโชโตกัน จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างจากสำนักอื่นๆ ตรงเรื่องการใช้เอว ในการใช้เอวของคาราเต้ทั่วไป จะใช้การบิดเอว(转腰จ่วนเยา ศัพท์มวยไทเก็กหมายถึงการบิดเอวเพียงอย่างเดียว แต่ในคาราเต้โชโตกัน การใช้เอวจะรวมไปถึงการเปิดปิดสะโพกด้วย(落跨ลั่วคว่า ศัพท์ไทเก็กหมายถึงการเคลื่อนไหวสะโพก โดยการบังคับกล้ามเนื้อตั้งแต่ส่วนเข่าขึ้นไปถึงส่วนสะโพก
จะสังเกตความแตกต่างได้อย่างชัดเจนจากวิวิฒนาการของคาราเต้ในสำนักโชโตกัน ซึ่งสังเกตได้จากโชโตกันรุ่นก่อตั้ง กับโชโตกันรุ่นหลัง การใช้เอวจะไม่เหมือนกัน เนื่องจาก ปรมาจารย์มาซาโทชิ นากะยาม่า(正敏 中山1913-1987หลังจากที่ได้ศึกษาคาราเต้สายชูริเต้จากท่านปรมาจารย์ฟุนาโคชิ กิชิน(船越 義珍1868-1957 ได้ไปรำเรียนศึกษาต่อที่ประเทศจีน และได้แลกเปลี่ยนความรู้ ฝึกมวยจีนจากอาจารย์หลายท่าน เมื่ออาจารย์นากายาม่ากลับมาที่ญี่ปุ่นได้ช่วยปรมาจารย์ฟุนาโคชิก่อตั้งสมาคมคาราเต้ญี่ปุ่น(日本空手協会 JKA: Japan Karate Associationขณะนั้นได้ก็มีนักมวยไทเก็กตระกูลหยังท่านหนึ่งได้อพยพมาอาศัยที่โตเกียว และได้ฝึกคาราเต้ที่สมาคมฯ ชื่อของท่านคือ หยังหมิงซื่อ(杨名时หยังหมิงซื่อ โยเมย์จิโดยอาจารย์หยังได้ฝึกคาราเต้จนได้รับสายดำระดับ7ดั้ง และเป็นหนึ่งในผู้ฝึกสอนของสมาคม ต่อมาอาจารย์หยังได้ก่อตั้งสมาคมไทเก็กเพื่อสุขภาพ และสมาคมปาต้วนจิ่นแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้น เพื่อเผยแพร่วิชาไทเก็กตระกูลหยัง และวิชาชี่กงปาต้วนจิ่นอันเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศจีน
(อาจารย์หยังหมิงซื่อ ไม่ใช่ผู้สืบทอดมวยไทเก็กตระกูลหยังแห่งหย่งเหนียน แต่เป็นชาวซานซี ได้รำเรียนวิชาไทเก็กตระกูลหยังจากอาจารย์หวังซินอู่(王新午) ซึ่งเป็นศิษย์ของปรมาจารย์อู๋เจี้ยนเฉวียน(吴鉴泉)แห่งไทเก็กตระกูลอู๋ และอาจารย์สวียวี่เซิง(许禹生) หลานศิษย์ปรมาจารย์หยังเจี้ยนโหว(杨健侯)แห่งไทเก็กตระกูลหยัง อีกทั้งอาจารย์หยังหมิงซื่อยังเป็นศิษย์ของอาจารย์มู่เสี่ยวอี้(穆小义)ผู้สืบทอดมวยสิงอี้เฉวียนรุ่นที่4อีกด้วย)
จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องกลศาสตร์พลศาสตร์รวมถึงความรู้ในด้านต่างๆที่ได้รับมาจากประเทศจีนของอาจารย์นากายาม่า ได้ต่อยอดสิ่งที่อาจารย์กิโก ฟุนาโคชิ(船越 義豪1906-1945 ลูกชายปรมาจารย์กิชิน ฟุนาโคชิ ในเรื่องการใช้เอว และการเตะต่างๆ จนทำให้คาราเต้โชโตกันในสมาคมฯ เริ่มแตกต่างจากคาราเต้สายชูริเต้อื่นๆ รวมถึงโชโตกันสายอาจารย์ท่านอื่นๆด้วย โดยเฉพาะการใช้เอวเปิดปิดสะโพกที่ได้รับมาจากการแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์หยังสามารถต่อยอดความรู้ในด้านการใช้เอว และพัฒนาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของโชโตกันปัจจุบัน ซึ่งต่างจากการใช้เอวในสำนักอื่นที่จะต้องล๊อคสะโพกตรง จากทัศนคติเรื่องการล๊อคสะโพกให้เอวตรงของการยืนหนีบแกะในสายมวยฮกเกี้ยน จึงทำให้สำนักต่างๆใช้เอวเพียงแค่บิดเอวเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ได้เปิดปิดสะโพกใช้เอวได้สามแบบโชเมน(正面เอวตรงฮันมิ(半身เปิดสะโพกหันตัวออกด้านข้าง45องศาและเคียคุฮันมิ(逆半身การบิดสะโพกหันตัวย้อนกลับ45องศาเหมือนดั่งโชโตกัน
ในคาราเต้โชโตกัน จะมีการฝึกที่ไม่เหมือนกันในแต่ละอาจารย์ ในท่ารำเทคกิ(鉄騎ขี่ม้าเหล็ก หรือナイハンチไนฮันจิและอีกตัวอย่างหนึ่งคือ การชกเคียคุสึกิ(逆突きชกหมัดหลังในท่ายืนโคคุทสึดาจิ(後屈立ちท่านั่งม้าน้ำหนักลงเท้าหลัง ภาษาจีนเพียนหม่าปู้偏马步) ในท่ามวยเฮอันโกดัน(平安五段) อาจารย์บางท่านจะสอนให้ล๊อคสะโพกขยับแต่เอวแล้วชก(จ่วนเยา)ตามแบบแผนดั้งเดิมเหมือนสำนักชูริเต้อื่นๆ แต่อาจารย์บางท่านจะให้ บิดสะโพก(ลั่วคว่า)ตามแบบความรู้ที่ได้รับ และแก้ไขปรับปรุงพัฒนาแล้ว

คาราเต้ และศิลปะการต่อสู้ประจำชาติญี่ปุ่น
คาราเต้จริงๆไม่ใช่ศิลปะประจำชาติญี่ปุ่น แต่เป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติของริวกิว(琉球ราชอาณาจักรริวกิวแต่เมื่อริวกิวได้ถูกรวมเป็นหนึ่งกับประเทศญี่ปุ่น คาราเต้จึงถูกเข้าใจว่าเป็นของประเทศญี่ปุ่นไปด้วย แต่เดิมศิลปะการต่อสู้ประจำชาติของญี่ปุ่นหลักๆคือ ซูโม่(相撲)จิวจิทสุ(柔術)จูโด(柔道)และเคนโด(剣道) จากวิชาการต่อสู้มากมายที่มีอยู่ในญี่ปุ่น ไม่ได้รวมถึงคาราเต้ด้วย แต่เมื่อไม่นานมานี้ ทางนิฮนบุโดกัน(日本武道館สมาคมสหพันธ์การต่อสู้แห่งประเทศญี่ปุ่นได้รวมคาราเต้ให้เป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติแล้ว โดยระบุเอาไว้ในหนังสือ นิฮนบุชิโด ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมรายชื่อวิชาการต่อสู้ของสำนักต่างๆในญี่ปุ่น และรายละเอียดคร่าวๆของสำนักเอาไว้เพื่อการเผยแพร่ความรู้
ในสมัยเมื่อ40-50ปีก่อน ชาวญี่ปุ่นเองน้อยมากที่จะรู้จักคาราเต้ เนื่องจากคาราเต้ไม่ใช่ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติ ผู้ที่จะรู้จักคาราเต้คือกลุ่มตำรวจที่ได้รับการฝึกในกรม หรือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์คาราเต้ไปสอนเผยแพร่เท่านั้น
จากสิ่งที่ยังหลงเหลือให้เห็นถึงความเป็นมวยจีนของคาราเต้ จึงกล่าวได้ว่า คาราเต้เป็นศาสตร์ศิลปะการต่อสู้แขนงหนึ่งที่ผสมผสานระหว่างมวยจีนสายฮกเกี้ยน มวยจีนสายอื่นๆ และมวยท้องถิ่นของโอกินาว่า จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างจากมวยจีนไปแล้ว และคงสามารถเป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดีในเรื่องต้นกำเนิดของคาราเต้ในข้อสงสัยที่ถูกถกเถียงกันมานานว่า คาราเต้แต่เดิมคือมวยเกาหลี แต่ถูกประเทศญี่ปุ่นลอกเลียนแบบไป
เรียบเรียงโดย
นักพรตแมว โชคินโฮ
 17 พฤศจิกายน 2554


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น