วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ชินโดจิเนนริวคาราเต้ ญาติห่างๆของโชโตกัน

ชินโดจิเนนริวคาราเต้ คาราเต้อีกหนึ่งสำนักที่กล้ารับรองว่า ในประเทศไทยนี้มีคนรู้จักอยู่แค่สองคน
หนึ่งคือตัวแอ๊ดมินเอง และอีกหนึ่งคือรุ่นพี่ของแอ๊ดมินรุ่นพี่ท่านนี้ท่านเคยบอกว่าตัวท่านไม่ได้เก่งในเรื่องคาราเต้ เพราะท่านไม่ใช่นักคาราเต้ แต่เป็นนักประวัติศาสตร์คาราเต้(ขอสงวนนามไว้ละกันครับ)

ชินโดจิเนนริว เป็นคาราเต้หนึ่งในสายของชูริเต้ โดยมีรากฐานมาจากสาย โชโตกัน ชิโตริว โชรินริว และวาโดริว พูดไปยาวหลาสำนัก แต่ให้เข้าใจรวมๆว่าสายชูริเต้ละกัน เพราะอาจารย์ ยาสุฮิโร่ โคนิชิ ผู้ก่อตั้งสำนักนี้ ได้เรียนวิชากับ ฟุนาโคชิ กิชิน(สายชูริเต้-ผู้ก่อตั้งโชโตกัน) และฮิโรโนริ โอทสึกะ(สายชูริเต้+ชินโดโยชินริวจิวจิทสุ)(ชื่อไม่ใช่ โอนิสึกะ นะครับ) ในสมัยที่เซนเซทั้งสองท่านมาร่วมเผยแพร่คาราเต้ที่มหาวิทยาลัยเคโอ ซึ่งขณะนั้นอาจารย์ยาสุฮิโร่ได้เรียนอยู่ในนั้น อาจารย์ยาสุฮิโร่จึงได้รับความรู้สายโชโตกันและวาโดริวจากเซนเซทั้งสองท่านไป(ขณะนั้นยังไม่แบ่งโชโตกัน กับ วาโดริว) โดยอาจารย์ยาสุฮิโร่เป็นนักเคนโด และจิวจิทสุสำนักทาเคโนจิริว
ต่อมา เซนเซโชกิ โมโตบุ(สายชูริเต้-โทมาริเต้-ผู้ก่อตั้งโมโตบุริว) เซนเซเคนวา มาบุนิ(สายชูริเต้-โทมาริเต้-ผู้ก่อตั้งชิโตริว) และเซนเซมิยากิ โชจุน(ผู้ก่อตั้งโกจูริว)ได้เข้ามาท่องเที่ยวและเริ่มแผยแพร่คาราเต้ที่ญี่ปุ่น ยาสุฮิโร่จึงได้เริ่มเรียนวิชากับท่านเหล่านี้ตั้งแต่นั้น
ต่อมาได้ศึกษาวิชา ไอคิจิทสุ จาก โอเซนเซโมริเฮ อุเอชิบะ และได้สาธิตท่ารำ "เฮอันนิดัน" ให้กับ โอเซนเซอุเอชิบะ โอเซนเซถึงกับเอ่ยปากชมว่า "กาต้าที่เธอสาธิตให้ชมนั้นมีคุณค่ามาก มันทำให้ฉันพอใจและตื่นเต้น"(ไม่รู้จะแปลยังไงดี ประมาณว่าเห็นแล้วของขึ้น อารมณ์นักสู้มันคงเกิดคันไม้คันมืออยากพิสูจน์ อยากศึกษา) (ต่อมาไม่รู้ว่า ยาสุฮิโร่ ได้เรียนอะไรกับโอเซนเซบ้าง แต่ก็คาดว่าน่าจะเรียนไอคิตามมาตรฐานทั่วไป) ต่อมาอาจารย์ยาสุฮิโร่ ได้สร้างกาต้าขึ้นมาใหม่สามท่า ว่าด้วยการสืบเท้า เรียกว่า ไทซาบากิทั้งสามท่า(โชดัน นิดัน ซันดัน)
ต่อมาก็ตามนั้นแหล่ะครับ สร้างกาต้า แล้วก็สร้างสำนักขึ้น
รูปแบบการสอน ก็เป็นคาราเต้ทั่วไป โดยยึดหลักของสำนัก โชโตกัน และชิโตริวเป็นพื้นฐาน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจาก ฟุนาโคชิแห่งโชโตกัน และมาบุนิแห่งชิโตริว และโมโตบุแห่งโมโตบุริวมากที่สุด
----------------------
ปล. ท่อนสุดท้ายจะเห็นการฝึกที่หายไปของโชโตกัน เรียกว่า "โคเทะ คิทาเอะ" ใครฝึกมวยจีนใต้ จะร้องอุทานว่า เห้ย นั่นมันการฝึกของสำนักฉันนี่นา ก็แน่นอนครับ คาราเต้เป็นมวยจีนใต้นี่นาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น