นาทีแรก ถึงนาทีที่2.30 จะอธิบายถึงการใช้ต้นขาของขาหลังกับกระดูกเชิงกรานในการหันตัว"เปิดปิดเอว" (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ฮันมิ โชเมน ฮันมิคือเปิดตัวหันข้าง โชเมนคือการหันตัวตรงไปด้านหน้า)
จะเห็นว่า เข่าหน้าและเข่าหลังจะไม่ขยับ(ขยับน้อยที่สุด) ส่วนที่ขยับหากมองกว้างๆจะเห็นว่าเป็นการหันตัวด้านข้างและการหันตัวกลับ ที่เราเรียกติดปากว่า"เปิดปิดเอว" (ฮันมิโชเมน) แต่จริงๆแล้วการทำในลักษณะนี้ ร่างกายท่อนบนไม่ได้ขยับแต่อย่างใด(ยกเว้นแขนที่ชกหรือปัด) แต่ส่วนที่ขยับคือ ต้นขาของขาหลัง ตั้งแต่เข่าถึงกระดูกเชิงกราน แน่นอนว่า การย่อขายังย่อเท่าเดิม ไม่ได้ยกตัวขึ้นแต่อย่างใด
การจะทำอย่างนี้ได้คือต้องยืนในท่าที่ถูกต้องในท่าที่สาธิตนี้คือ เซนคุทสึดาจิ(ภาษาจีนกงปู้)
ปลายเท้าหลังจะต้องหันเฉียงขึ้นในองศาที่ถูกต้อง หันตรงมากเกินไปจะทำให้เปิดเอวไม่ได้ หันเฉียงมากเกินไปจะทำให้บิดเอวตรงไม่ได้ หากฝืนเปิดปิดเอวโดยองศาเท้าไม่ถูกต้องจะทำให้เจ็บเข่าปวดหลัง
การยืนด้วยขาหลังเหยียดตึงจนเกินไป จะทำให้เจ็บเข่า และหลังไม่สามารถจัดให้ตรงได้ เก็บก้นหลังตรงผ่อนคลายหน้าอกไม่ได้
------------------
ในนาทีที่ 3.20 จะเห็นว่าการก้าวเดินในท่า เซนคุทสึดาจินั้น พื้นฐานอย่างแรกคือการใช้ขาที่อยู่ด้านหลังในการดีดตัวไปด้านหน้า
------------------
ในนาทีที่ 3.20 จะเห็นว่าการก้าวเดินในท่า เซนคุทสึดาจินั้น พื้นฐานอย่างแรกคือการใช้ขาที่อยู่ด้านหลังในการดีดตัวไปด้านหน้า
ในการดีดตัวนี้ หากผู้ฝึกไม่สามารถผ่อนคลายช่วงกระดูกเชิงกรานและเอวลงได้ จะทำให้การดีดตัวนั้นฐานลอยขึ้น น้ำหนักตัวไม่กดลงพื้น ตัวเอียงไปด้านหลัง จุดเซกะทันเดน(ท้องน้อยตันเถียน)จะพุ่งไปข้างหน้าก่อน ทำให้จุดทันเดนทั้งสาม(ตันเถียนบนกลางล่าง)ไม่เรียงเป็นเส้นเดียวกัน ทำให้การยืนการเดินการส่งแรงไม่มีพลังไม่มีความสมดุลย์ ไม่สามารถซับแรงได้
------------------
------------------
ในการเปิดปิดเอวนั้น จะเห็นได้ว่า การส่งแรงของโชโตกันนั้น จะเกิดมาจากขา การเปิดปิดเอวที่เราเรียกติดปากกันนั้น จริงๆแล้ว คือการใช้ต้นขา(ตั้งแต่เข่าถึงกระดูกเชิงกราน) ในการทำให้ตัวหันตรงหรือหันข้าง ที่เราเรียกกันว่า"เปิดปิดเอว หมุนเอว twist the hip"
การที่จะเปิดปิดกระดูกเชิงกรานได้นั้น ต้องผ่อนคลายขา สะโพก กระดูกเชิงกราน หลัง และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ การยืนการหันปลายเท้าในองศาที่ถูกต้อง
การยืนการจัดปลายเท้าในองศาที่ไม่ถูกต้องนั้น จะส่งผลให้ไม่สามารถเปิดปิดกระดูกเชิงกรานได้ หากเกิดการฝืนเพื่อจะบิดเอวเข้านั้น จะทำให้เกิดการเจ็บเข่า และช่วงบั้นเอว จากการฝืนร่างกาย จริงๆแล้วในการฝีกท่านี้ ร่างกายท่อนบนมีหน้าที่แค่ชกเท่านั้น ไม่ได้มีการบิดตัวเอี้ยวตัวแต่อย่างใด แต่ที่เราเห็นว่าตัวหันข้างนั้นคือเกิดจากการเปิดปิดของกระดูกเชิงกรานเท่านั้น
ให้สังเกตุเข่าทั้งสองข้าง จะขยับน้อยมากเมื่อเกิดการเปิดปิดกระดูกเชิงกราน ่ฝ่าเท้าที่อยู่ด้านหลังจะไม่ขยับเพื่อเป็นการยึดและส่งแรงถีบไปด้านหน้า เข่าที่อยู่ด้านหลังจะไม่ขยับ ส่วนที่ขยับคือช่วงต้นขา(ตั้งแต่เข่าถึงกระดูกเชิงกราน)เท่านั้นที่ใช้ในการเปิดปิดหันตัว
และสิ่งที่เข้าใจผิดมากที่สุดคือ คิดว่าการยืนในท่านี้ เข่าหลังขหลังต้องตรง หรือตึง เพราะหากตึงก็ไม่สามารถเปิดปิดกระดูกเชิงกรานได้ เพราะต้นขาถูกยึดเอาไว้
---------------------------
---------------------------
จะเห็นชัดว่าการเปิดปิดเอว นั้นต้องใช้กระดูกเชิงกราน เซนเซริค ฮอทตั้น ชี้ให้เห็น และอธิบายอย่างชัดเจนในการใช้กระดูกเชิงกรานในการหนีบเข้า โดยใช้กล้ามเนื้อส่วนต้นขาด้านใน กลไกของการบิดเข้ามานั้นจะก่อให้เกิดการบิดหมุนของพลังในร่างกาย รวมถึงการใช้ขาหลังส่งแรง ดีดตัวขึ้นมาจากพื้นข้างหลัง และการกดเข่าหน้าจมขาสองข้างลงในตอนที่ปะทะแรง เพื่อการกดน้ำหนักของแรงทั้งหมดให้พุ่งไปสู่ด้านหน้า
-----------------------------
จากแต่เดิมที่มีเพียงแค่สำนักโชโตกัน ที่มีการเปิดปิดเอวหันตัวเข้าออกอย่างชัดเจนในการชก
(สำนักส่วนใหญ่จะเป็นแค่การสะบัดเอวเล็กน้อยในการชกการปัด จะไม่ได้มีการเปิดปิดชัดเจนเหมือนโชโตกัน หรือเหมือนในคลิปนี้)
(สำนักส่วนใหญ่จะเป็นแค่การสะบัดเอวเล็กน้อยในการชกการปัด จะไม่ได้มีการเปิดปิดชัดเจนเหมือนโชโตกัน หรือเหมือนในคลิปนี้)
แต่ปัจจุบัน กลายเป็นทุกสำนักเริ่มมีการใช้เอว(กระดูกเชิงกราน) มากขึ้น และมีการเปิดที่เห็นชัด(อย่างในคลิป)
จะเรียกได้ว่าเป็นวิวัฒนาการของวิชาคาราเต้รึเปล่า ที่ทุกสำนักค่อยๆพัฒนาหากลไกการใช้ร่างกายให้เกิดประโชน์สูงสุด และสุดท้ายแล้วทุกสำนักก็จะมีการส่งแรงที่เหมือนๆกัน
ในคลิปนี้เป็น นักคาราเต้ชาวโอกินาว่าที่เป็นทีมชาติญี่ปุ่น ถ้าจำไม่ผิดเป็นสำนักริวเอริว
ริวเอริว เป็นสำนักที่มีความคล้ายกับชิโตริวที่สุด และยังมีความกลมแบบโกจูริวอีกด้วย วิชาของชิโตริวท่าปัดพื้นฐาน4ท่าจะตรงเหมือนโชโตกันแต่จะเน้นให้เล็กกระชับกว่า และท่าปัดนอกเหนือจากนั้นจะกลมเหมือนโกจูริว (ท่าโจมตีส่วนใหญ่ทุกสำนักเหมือนกัน จะต่างกันแค่การปัด)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น